ชื่อโครงการ : การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
หลักการและเหตุผล
        โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผล มาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข คาดว่าอีก 50 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ.2593 ทั่วโลกจะมีผู้สูงอายุประมาณ 2 พันล้านคน  คิดเป็นร้อยละ 22  ของประชากรทั่วโลก ส่วนประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านคน    คิดเป็นร้อยละ 29.6 ของประชากรทั้งหมด  (United Nation , 1999)   ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย รายได้ในการยังชีพ และปัญหาด้านสังคม  ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ  ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544)  ได้กำหนดให้มีการพัฒนา และ ส่งเสริม บริการด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพแข็งแรง และ ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่าและอยู่ ในสังคมอย่างมีความสุข  เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้จัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพระบรมราชชนกตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากร   โดยเฉพาะพยาบาลเป็นบุคลากรในทีมสุขภาพ   ที่มี บทบาทสำคัญในการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุ  จึงได้มอบหมายให้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา จัดการอบรมหลักสูตรเฉพาะการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับอาจารย์และพยาบาลวิชาชีพ ขึ้น โดยมุ่งหวังให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดการเรียนการสอน การอบรม และปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ และตอบสนองความต้องการของสังคม
วัตถุประสงค์
1. บอกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลผู้สูงอายุได้
2. อธิบายหลักการพยาบาลผู้สูงอายุทั้งภาวะปกติและมีปัญหาด้านสุขภาพได้ครอบคลุม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
3. ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่เกิด การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในบทบาทของการส่งเสริม ป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้สูงอายุ ได้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ ของแต่ละบุคคล
วิธีดำเนินการ
1.ขั้นเตรียม
   1.1 เสนอโครงการเพื่อขออนุมัติดำเนินการอบรม
   1.2 ติดต่อวิทยากร 
   1.3 ประชาสัมพันธ์โครงการไปยังวิทยาลัยพยาบาลฯ สำนักงานสาธารณสุข และโรงพยาบาลต่างๆ
   1.4 เตรียมเอกสาร อุปกรณ์การอบรม แบบประเมิน
   1.5 เตรียมสถานที่อบรม สถานที่ฝึกภาคปฏิบัติ สถานที่ศึกษาดูงาน
2.ขั้นดำเนินการอบรม
   2.1 ภาคทฤษฎีและทดลองปฏิบัติ จำนวน 7 หน่วยกิต (112 ชั่วโมง)
   2.2 ภาคปฏิบัติ จำนวน 3 หน่วยกิต (210 ชั่วโมง) โดยฝึกในแหล่งฝึกดังนี้
          2.2.1 โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา อ.เมือง จ.นครราชสีมา
          2.2.2 สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ (วัดม่วง) อ.เมือง จ.นครราชสีมา
          2.2.3 สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ (โพธิ์กลาง) อ.เมือง จ.นครราชสีมา
          2.2.4 หมู่บ้านพังเทียม ต.พังเทียม กิ่งอำเภอพระทองคำ จ.นครราชสีมา
   2.3 การศึกษาดูงาน
          2.3.1 สถานสงเคราะห์คนชรา 1 แห่ง
          2.3.2 ชมรมผู้สูงอายุ 1 แห่ง
          2.3.3 โรงพยาบาลผู้สูงอายุ 1 แห่ง
          2.3.4 ศูนย์บริการผู้สูงอายุ 1 แห่ง
          2.3.5 ศูนย์ฝึกอบรมอาชีพผู้สูงอายุ 1 แห่ง
3.ขั้นประเมินผล ประเมินจาก
   3.1 เวลาเข้ารับการอบรม ภาคทฤษฎีไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ภาคปฏิบัติและศึกษาดูงานไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
   3.2 การทดสอบ ภาคทฤษฎีคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
   3.3 การฝึกปฏิบัติ ภาคปฏิบัติคะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70
   3.4 แบบประเมินผลการฝึกอบรมและติดตามผลภายหลังการอบรม 6 เดือน
คุณสมบัติของผู้รับการอบรม
         อาจารย์พยาบาล และพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 30 คน ค่าใช้จ่ายสำหรับการอบรม ค่าลงทะเบียนคนละ 7,000 บาท  ซึ่งผู้รับ การอบรมจะได้รับกระเป๋าเอกสาร และ เอกสารตลอดการอบรม ค่ายานพาหนะในการเข้าหมู่บ้าน การศึกษาดูงาน ตลอดจนค่าที่พัก ขณะศึกษาดูงาน 3 วัน    โดยสามารถเบิกค่าลงทะเบียน   ค่าที่พักขณะอบรม   เบี้ยเลี้ยงขณะอบรม   ได้จากต้นสังกัด ตามระเบียบ กระทรวง การคลัง
ระยะเวลาดำเนินการ
ขั้นเตรียมการ
   ธันวาคม 2543-มิถุนายน 2544
ขั้นดำเนินการอบรม
   11 มิถุนายน-2 กันยายน 2544
ขั้นประเมินผล
   ระหว่างการอบรม หลังการอบรม และติดตามหลังการอบรม 6 เดือน
สถานที่อบรม
   วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ถ.ช้างเผือก อ.เมือง จ.นครราชสีมา
วิธีดำเนินการอบรม
  1. บรรยาย
  2. อภิปราย
  3. สัมมนา
  4. กรณีศึกษา
  5. วิจัย
  6. ศึกษาดูงานนอกสถานที่
  7. ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุในโรงพยาบาล สถานสงเคราะห์ และในชุมชน
วิทยากร
   ประกอบด้วยอาจารย์พยาบาล แพทย์ นักกายภาพบำบัด นักโภชนากร จากสถาบันการศึกษาต่างๆ ดังนี้
   1. มหาวิทยาลัยมหิดล
   2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
   3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น
   4. สถาบันราชภัฎนครราชสีมา
   5. โรงพยาบาลราชวิถี
   6. โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
   7. วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
   8. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
งบประมาณ
   จากค่าลงทะเบียนของผู้รับการอบรม คนละ 7,000 บาท โดยนำมาเป็นค่าใช้จ่ายดังนี้
   
1. เตรียมโครงการและดำเนินการอบรม
   2. ค่าตอบแทนวิทยากร
   3. ศึกษาดูงานนอกสถานที่
   ผลที่คาดว่าจะได้รับ ผู้เข้าอบรมสามารถบูรณาการความรู้ในการจัดการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุทั้งในภาวะปกติ และภาวะเจ็บป่วย ได้ครอบคลุมทั้งด้านร่างกาย  จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในด้านการส่งเสริม ดูแลรักษา ป้องกัน และฟื้นฟูสภาพได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ ตลอดจนสามารถจัดการเรียนการสอน หรือจัดอบรมเกี่ยวกับการพยาบาลผู้สูงอายุ แก่นักศึกษาพยาบาล พยาบาลและประชาชน ทั่วไป

                                                                            ศิริรัตน์ โมอ่อน ผู้จัดทำโครงการ
                                                                            (นางศิริรัตน์ โมอ่อน)
                                                                  หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ

                                                                             อรุณี เธียรประมุข ผู้เห็นชอบโครงการ
                                                                             (นางอรุณี เธียรประมุข)
                                                                             รองผู้อำนวยการฯฝ่ายแผนและพัฒนา

                                                                              วิภา เพ็งเสงี่ยม ผู้เสนอโครงการ
                                                                              (นางสาววิภา เพ็งเสงี่ยม)
                                                                    ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

                                                                               สุริยะ วงศ์คงคาเทพ ผู้อนุมัติโครงการ
                                                                               (นายสุริยะ วงศ์คงคาเทพ)
                                                                               ผู้อำนวยการสถาบันพระบรมราชชนก

 

****************************************************
คำสั่งวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
ที่ 07/2544
เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการ

..................................

      ด้วยวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา ได้จัดอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ ระหว่างวันที่ 11 มิถุนายน 2544 ถึงวันที่ เ2 กันยายน 2544 เพื่อให้การอบรมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และบรรลุวัตถุประสงค์ จึงขอแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการดังต่อไปนี้
คณะกรรมการที่ปรึกษา
1. นางสาววิภา เพ็งเสงี่ยม ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯ
2. นางอรุณี เธียรประมุข รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายแผนและพัฒนา
3. นางสาวสายสวาท เผ่าพงษ์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายวิชาการ
4. นางศรีสมพงษ์ สถิตยานุรักษ์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายส่งเสริมฯ
5. นางสาวอรพรรณ พงษ์ประสิทธิ์ รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายบริหาร
คณะกรรมการอำนวยการ
1. นางศิริรัตน์ โมอ่อน ประธาน
2. นางสมพิมพ์ คเชนทร์ชัย กรรมการ
3. นางจุฑาทิพย์ ศิรินภาดล กรรมการ
4. นางสาวเพ็ญรุ่ง ศรีทรัพย์พานิช กรรมการ
5. นางปรางทอง เทพนีรมิตร กรรมการ
6. นางนรีนุช ไตรรัตนาภิกุล กรรมการ
7. นางสาววราพร ตัณฑะสุวรรณะ กรรมการ
8. นางสาวกรรณิการ์ หาญสูงเนิน กรรมการ
9.นางสาวนวลน้อย เ ศรษฐจันทร กรรมการ
10.นางสาวศุภิสรา ลานอก กรรมการ
11.นางสาวภิรมย์ลักษณ์ มีสัตยานันท์ กรรมการและเลขานุการ
สั่ง ณ วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2544

                                                                          วิภา เพ็งเสงี่ยม
                                                                          (นางสาววิภา เพ็งเสงี่ยม)
                                                                          ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา

************************************************

ชื่อหลักสูตร การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ (Training in Specialized Nursing Elderly Care) ชื่อวุฒิบัตร การพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ (Certificate of Nursing Elderly Care) หน่วยงานที่รับผิดชอบ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา สังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข
หลักการและเหตุผล        โครงสร้างประชากรผู้สูงอายุทั่วโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปกล่าวคือประชากรผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น อันเป็นผล มาจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุข คาดว่าอีก 50 ปีข้างหน้า คือ พ.ศ.2593 ทั่วโลกจะมีผู้สูงอายุประมาณ 2 พันล้านคน คิดเป็นร้อยละ 22 ของประชากรทั่วโลก ส่วนประเทศไทยจะมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 22 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 29.6 ของประชากรทั้งหมด (United Nation , 1999) ซึ่งผู้สูงอายุส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย รายได้ในการยังชีพ และปัญหาด้านสังคม ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540-2544) ได้กำหนดให้มีการพัฒนา และ ส่งเสริมบริการด้านการรักษาพยาบาล และส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้สูงอายุให้มีสุขภาพแข็งแรง และดำรงชีวิตอยู่อย่างมีคุณค่า และอยู่ ในสังคมอย่างมีความสุข เพื่อให้ทุกคนเห็นความสำคัญของผู้สูงอายุ และเป็นการกระตุ้นเตือนให้จัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ สถาบันพระบรมราชชนกตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาบุคลากรโดยเฉพาะพยาบาลเป็นบุคลากรในทีมสุขภาพที่มี บทบาท สำคัญในการดูแล ส่งเสริม ป้องกัน และฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้สูงอายุ จึงได้มอบหมายให้วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา จัดการอบรมหลักสูตรเฉพาะการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ สำหรับอาจารย์และพยาบาลวิชาชีพ ขึ้น โดยมุ่งหวังให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปจัดการเรียนการสอน การอบรม และปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่างมีประสิทธิ ภาพ และตอบสนองความต้องการของสังคม ปรัชญาการศึกษา คณะกรรมการจัดทำหลักสูตร มีความเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงในวัย สูงอายุเป็นเรื่องซับซ้อน ต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ ทั้งด้านกายวิภาค สรีรวิทยา จิตวิทยา ประกอบกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ในทุกๆด้าน ในการดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุและครอบครัว ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความสามารถ ศักยภาพ และลักษณะพิเศษส่วนบุคคล ร่วมกับความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง การฟื้นฟูความรู้ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุจึงจะบรรลุเป้าหมายได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า บริการที่ให้แก่ผู้สูงอายุนั้นมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
วัตถุประสงค์
1. บอกบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาล ผู้สูงอายุได้
2. อธิบายหลักการพยาบาลผู้สูงอายุทั้งภาวะปกติและมีปัญหาด้านสุขภาพได้ครอบคลุม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม
3. ปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้กระบวนการพยาบาลในการแก้ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุที่เกิด การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ในบทบาทของการส่งเสริม ป้องกัน ดูแล และฟื้นฟูสมรรถภาพแก่ผู้สูงอายุ ได้สอดคล้องกับภาวะสุขภาพ ของแต่ละบุคคล
กรอบแนวคิดในการศึกษา
     กระบวนการ บรรยาย อภิปราย ค้นคว้าด้วยตนเอง ปัจจัยนำเข้า สัมมนา ผลลัพธ์ ธรรมชาติของมนุษย์ การทำวิจัย พยาบาลที่สามารถบูรณาการ ศาสตร์ทางการพยาบาล ทดลองปฏิบัติ ความรู้ในการจัดการดูแลช่วย
      การพยาบาลผู้สูงอายุ 1 ฝึกปฏิบัติ เหลือผู้สูงอายุทั้งในภาวะปกติ
      การพยาบาลผู้สูงอายุ 2 กรณีศึกษาผู้สูงอายุเฉพาะราย และภาวะเจ็บป่วยได้ครอบ ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ประชุมปรึกษาทางการพยาบาล คลุมทั้งด้านร่างกาย จิตใจ ตรวจเยี่ยมทางการพยาบาล อารมณ์ และสังคม การติดตามเยี่ยมบ้าน กลุ่มช่วยเหลือตนเอง กิจกรรมนันทนาการ
ระยะเวลาการศึกษาอบรม 12 สัปดาห์ โดยแบ่งออกเป็น
      การศึกษาภาคทฤษฎี 6 สัปดาห์
      การศึกษาภาคปฏิบัติ 4 สัปดาห์
      การสัมมนาและนำเสนอผลการวิจัย 1 สัปดาห์
      การศึกษาดูงาน 1 สัปดาห์
วิธีการอบรม
       กิจกรรมภาคทฤษฎี บรรยาย สัมมนา อภิปราย การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การทำวิจัย
      
กิจกรรมภาคทดลองปฏิบัติ ทดลองปฏิบัติการทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ การจัดเกมสำหรับผู้สูงอายุ การออกกำลังกายแบบไทเก็ก กิจกรรมภาคปฏิบัติ ปฏิบัติการพยาบาลในโรงพยาบาล ปฏิบัติการพยาบาลในสถานสงเคราะห์คนชรา ปฏิบัติการพยาบาลในหมู่บ้าน
       กรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย การจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง การติดตามเยี่ยมบ้าน การตรวจสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน การบริหารกาย-จิต การสอนสุขศึกษา การสันทนาการ การประชุมปรึกษาทางการพยาบาล
       การทำโครงการตามปัญหาและความต้องการของผู้สูงอายุในชุมชน กำหนดเวลาเรียน ดังนี้
            ภาคทฤษฎี 1 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 16 ชั่วโมง
            ภาคปฏิบัติ 1 หน่วยกิต ใช้เวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 64 ชั่วโมง
สถานที่จัดอบรม
    
วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา สถานสงเคราะห์คนชราบ้านธรรมปกรณ์ บ้านพังเทียม หมู่ที่ 1 ตำบลพังเทียม กิ่งอำเภอพระทองคำ จังหวัดนครราชสีมา
การวัดและประเมินผล
     ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องมีเวลาศึกษาในภาคทฤษฎี ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 และต้องมีเวลาศึกษาภาคปฏิบัติเต็มเวลาการศึกษา มิฉะนั้นจะไม่มีสิทธิ์สอบและได้รับวุฒิบัตร นอกจากนี้เป็นไปตามระเบียบการวัดและประเมินผล ดังนี้
1. ภาคทฤษฎี
    1.1 การทดสอบก่อน-หลังการอบรม
    1.2 การทดสอบในแต่ละรายวิชา
    1.3 แบบประเมินการประชุมกลุ่ม
    1.4 แบบประเมินรายงานกลุ่ม
    1.5 โครงร่างวิจัยและการนำเสนอ
2. ภาคปฏิบัติ
     2.1 แบบประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาล
     2.2 แบบประเมินผลการศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย
     2.3 แบบประเมินผลการตรวจเยี่ยมผู้ป่วย
     2.4 แบบประเมินผลการติดตามเยี่ยมบ้าน
     2.5 แบบประเมินผลการอภิปรายผู้ป่วยรายกรณี
     2.6 แบบประเมินผลการประชุมปรึกษาทางการพยาบาล
     2.7 แบบประเมินผลการสอนสุขศึกษา
     2.8 แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมนันทนาการและการบริหารกาย-จิต
     2.9 แบบประเมินผลการจัดกิจกรรมกลุ่มช่วยเหลือตนเอง
     2.10 แบบประเมินผลการจัดทำโครงการ
การประเมินผลการศึกษารายวิชา การสอบได้มีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. ต้องเรียนครบตามหน่วยกิตที่กำหนด 10 หน่วยกิต
2. มีเวลาศึกษาภาคทฤษฎีไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทั้งหมด
3. มีเวลาศึกษาภาคปฏิบัติครบตามหลักสูตรกำหนด
4. ผลการเรียนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไม่ต่ำกว่า C

การประเมินผลแบ่งเป็น 5 ระดับ (Grade) ดังนี้
ระดับ ความหมาย ค่าระดับ
A ดีมาก (Excellent) 4
B ดี (Good) 3
C พอใช้ (Fair) 2
D อ่อน (Poor) 1
F ตก (Failure) 0

หมายเหตุ
1. กรณีไม่สามารถประเมินเป็นระดับได้ ให้ใช้สัญลักษณ์กำกับไว้ก่อน คือ E หมายถึง มีเงื่อนไข (Condition) และให้แก้ตัว I หมายถึง ยังไม่สมบูรณ์ (Incomplete)
2. การให้ F จะให้ในกรณีต่อไปนี้
    2.1 สอบไม่ผ่านหรือมีผลงานที่ประเมินว่าตก
    2.2 ขาดสอบโดยไม่ได้รับอนุมัติ หรือไม่มีสาเหตุจำเป็น
    2.3 ทำผิดระเบียบการสอบและได้รับการตัดสินให้สอบตก
    2.4 กรณีที่ไม่สามารถเปลี่ยนจาก I หรือ E ได้
3. การให้ E จะกระทำในกรณีที่ผลการสอบของแต่ละวิชาได้รับการพิจารณาจากผู้สอน และ/หรือประธานโครงการว่ายังไม่ สมควร ให้ตกและควรให้โอกาสแก้ตัว และในการเปลี่ยนระดับจาก E จะเปลี่ยนได้ไม่เกินระดับ C
4. การให้ I จะให้ในกรณีต่อไปนี้
    1.1 เจ็บป่วยจนเป็นสาเหตุให้ไม่สามารถเข้าสอบในบางส่วนของวิชา หรือทั้งหมดได้ โดยได้ปฏิบัติถูกต้องตามระเบียบการลาป่วยแล้ว
    1.2 ขาดสอบด้วยเหตุสุดวิสัย ซึ่งมีเหตุผลและความจำเป็นที่เชื่อถือได้ โดยได้รับอนุมัติจากผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯ หรือประธานโครงการ
    1.3 ทำงานหรือปฏิบัติงานยังไม่สมบูรณ์ หรืออาจารย์ผู้สอนเห็นสมควรให้รอผลการศึกษา
การเปลี่ยนระดับจาก I จะเปลี่ยนเป็นค่าระดับขั้นที่เหมาะสมกับคุณภาพของการสอบ/งานที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งครบถ้วนตามกำหนดแล้ว ทั้งนี้ต้องเสร็จสิ้นภายในเวลาที่ผู้สอนกำหนด

การประเมินผลการจัดอบรม
1. ประเมินโครงการการอบรม
2. ประเมินวิทยากร/เนื้อหา
3. ประเมินการบริหารจัดการอบรม
4. ติดตามประเมินผู้รับการอบรมในขณะอบรม ภายหลังการอบรม และติดตาม 6 เดือน
ระเบียบการแต่งกาย
ภาคทฤษฎี แต่งกายสุภาพ ภาคปฏิบัติ แต่งเครื่องแบบพยาบาล และเครื่องแบบชุดปฏิบัติการของกระทรวงสา ธารณสุข
ระเบียบการลา
การลากิจ ให้เสนอใบลาต่อผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯ หรือประธานโครงการฯล่วงหน้า 1 วัน เมื่อได้รับอนุญาตจึงมีสิทธิ์ลาได้ ยกเว้นกรณีที่มีเหตุจำเป็นไม่สามารถลาล่วงหน้าได้ ให้จัดส่งใบลาพร้อมระบุเหตุผลหรือความจำเป็นทันทีที่กลับมา การลาป่วย ต้องติดต่อเพื่อรายงานให้ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯ หรือประธานโครงการฯ ทราบ และเมื่อกลับมาให้ส่งใบลาทันที (กรรีที่ป่วยเกิน 1 วันต้องส่งใบรับรองแพทย์) กรณีลากิจ หรือลาป่วยฉุกเฉินกรุณาโทรศัพท์แจ้ง ผู้อำนวยการวิทยาลัยพยาบาลฯ โทรศัพท์ 044-242397 หรือ 243020 โทรสาร 044-270222 ประธานโครงการฯ โทรศัพท์ 044-242397 หรือ 243020 ต่อ 109

*********************************


โครงสร้างของหลักสูตร                จำนวนชั่วโมง จำนวนหน่วยกิต
ลำดับที่ ชื่อวิชา                   ทฤษฎี (ชั่วโมง) ปฏิบัติ (ชั่วโมง) (หน่วยกิต)
1. ธรรมชาติของมนุษย์          16                         -                    1
2. ศาสตร์ทางการพยาบาล     16                         -                    1
3. การพยาบาลผู้สูงอายุ 1       32                        -                    2
4. การพยาบาลผู้สูงอายุ 2       48                        -                    3
5. ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ    -                       192                3
                                      
รวม 112                    192             10

*********************************************

ประมวลรายวิชา

1. วิชาธรรมชาติของมนุษย์ หน่วยกิต 1 หน่วยกิต (1-0-2)

ลักษณะวิชา

        ศึกษาถึงธรรมชาติของมนุษย์ ทางด้านร่างกาย จิตสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ กับสิ่งแวดล้อม พัฒนาการทางด้าน ร่างกายและจิตใจ รวมทั้งแนวคิดเกี่ยวกับภาวะเครียดและการเผชิญปัญหา

วัตถุประสงค์

        1. อธิบายความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์ บุคลิกภาพของมนุษย์ พัฒนาการทางด้าน ร่างกายและจิตใจ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับสิ่งแวดล้อม แนวคิดเกี่ยวกับภาวะ เครียดและการเผชิญปัญหา
        2. สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมของผู้สูงอายุได้
        3. สามารถนำความรู้เกี่ยวกับความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

หัวข้อการสอน

บทที่ 1 บทนำแนวคิดเกี่ยวกับมนุษย์
บทที่ 2 จิตวิทยาพัฒนาการ - ทฤษฎีของFreud * การทำงานของจิต * โครงสร้างของบุคลิกภาพ * ขั้นพัฒนาการทางจิตเพศ - ทฤษฎีของ Erickson * พัฒนาการ 8 ขั้นของชีวิต - ทฤษฎีของ Maslow *ลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ *ความแตกต่างระหว่างความต้องการขั้นต้น และขั้นสูง - จิตวิทยาผู้สูงอายุ - คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ
บทที่ 3 ความเครียดและการเผชิญปัญหา - แนวคิดเกี่ยวกับความเครียด - การจัดการและเผชิญกับความเครียด - ความเครียดในผู้สูงอายุ - การสนับสนุนทางสังคม

วิธีการศึกษา
1. การบรรยาย
2. การสาธิต และสาธิตย้อนกลับ การประเมินผล แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 100


2. วิชาศาสตร์ทางการพยาบาล ( Nursing Science ) หน่วยกิต 1 หน่วยกิต (1-0-2)

ลักษณะวิชา

         ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย และจุดมุ่งหมายของการพยาบาล รูปแบบของการพยาบาล แนวคิดหรือทฤษฎีทางการพยาบาล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลในรูปแบบของกระบวนการพยาบาล ตลอดจนศึกษาวิธีวิจัยทางการพยาบาล

วัตถุประสงค์

1. อธิบายความหมายของศาสตร์ทางการพยาบาล และทฤษฎีทางการพยาบาลได้
2. บอกแนวทางหรือหลักการนำทฤษฎีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติ การพยาบาลในรูปแบบของกระบวนการพยาบาลได้
3. ประยุกต์ทฤษฎีการพยาบาลกับผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม
4. เขียนโครงร่างวิจัย ทำวิจัย รายงานผล และนำเสนอผลการวิจัยได้

หัวข้อการสอน

บทที่ 1 ศาสตร์ทางการพยาบาล - ความหมายของศาสตร์ทางการพยาบาล และทฤษฎีทางการพยาบาล - แนวทางหรือหลักการนำทฤษฎีการพยาบาล มาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติการ พยาบาล
บทที่ 2 ทฤษฎีการพยาบาลกับการดูแลผู้สูงอายุ
บทที่ 3 กระบวนการพยาบาล
บทที่ 4 วิธีวิจัยทางการพยาบาล - ความหมาย และประเภทของการวิจัย - การเลือกปัญหา - ตัวแปรและสมมุติฐาน - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง - เครื่องมือ และการหาคุณภาพของเครื่องมือ - การวิเคราะห์ข้อมูลและการอภิปรายผลการวิจัย

วิธีการศึกษา

1. บรรยาย
2. ทำวิจัยเป็นรายกลุ่มๆละ 8-9 คน

การประเมินผล

1. แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 30
2. งานวิจัย ร้อยละ 70
     2.1 รายงาน ร้อยละ 45
     2.2 การนำเสนอ ร้อยละ 25


3. วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ 1 ( Geriatric Nursing 1 ) หน่วยกิต 2 หน่วยกิต (2-0-4)

ลักษณะวิชา

     ศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ด้านร่างกาย และจิตสังคมของผู้สูงอายุ รวมทั้งปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ และการปรับตัวทางด้านร่างกาย-จิตใจ การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค และการดูแลสุขภาพตนเอง

วัตถุประสงค์

1. อธิบายการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติ ด้านร่างกาย และจิตสังคมของผู้สูงอายุได้
2. ประเมินสภาพของผู้สูงอายุในแต่ละระบบได้
3. ระบุปัญหาที่พบบ่อยในภาวะเสื่อมของแต่ละระบบของผู้สูงอายุได้
4. อธิบายการปรับตัวทางด้านร่างกาย-จิตใจ ของผู้สูงอายุต่อการเปลี่ยนแปลงตามธรรม ชาติได้ถูกต้อง
5. ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพตนเองแก่ผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การส่งเสริม สุขภาพ และการป้องกันโรคได้ถูกต้อง

หัวข้อการสอน

บทที่ 1 บทนำ
            1.1 การพยาบาลกับผู้สูงอายุ
            1.2 ทฤษฎีผู้สูงอายุ -ทฤษฎีทางชีวภาพ -ทฤษฎีทางจิตภาพ -ทฤษฎีทางสังคม
            1.3 การเปลี่ยนแปลงในผู้สูงอายุ -การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย -การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ
            1.4 การช่วยเหลือผู้สูงอายุเมื่อประสบปัญหา -การกลัวตาย -ความเสื่อมในการทำหน้าที่ของอวัยวะ -ความอ้างว้างว้าเหว่ และความโดดเดี่ยว -การลดลงของรายได้ -การแยกตัวออกจากสังคม
บทที่ 2 การส่งเสริมสุขภาพและการดูแลตนเอง
            2.1 กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการดูแลตนเอง -Self health group -Home health care -Health education -Health service
            2.2 การส่งเสริมการไหลเวียนโลหิต -การดูแลผู้สูงอายุที่ถูกจำกัดการเคลื่อนไหว -สุขภาพผิวหนังและการเกิดแผลกดทับ
            2.3 ภาวะโภชนาการ -โภชนาการในผู้สูงอายุ
            2.4 การขับถ่าย -กระเพาะและลำไส้ -ผิวหนัง
            2.5 กิจกรรม -การเคลื่อนไหวร่างกาย -การออกกำลังกาย -กิจกรรมนันทนาการ
            2.6 การพักผ่อนและนอนหลับ
            2.7 ปฏิสัมพันธ์ทางสังคมและการแยกตัวออกจากสังคม -การสื่อสาร -การเข้าสังคม -ความโดดเดี่ยว
            2.8 เพศสัมพันธ์ -การเปลี่ยนแปลง -ความต้องการทางเพศ -ปัญหาเพศสัมพันธ์ -การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาเพศสัมพันธ์
            2.9 ความปลอดภัย -การป้องกันอุบัติเหตุ -การคัดกรองความเสี่ยง -อุปกรณ์ส่งเสริมความปลอดภัย
            2.10 การจัดสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ -ปัญหาสิ่งแวดล้อม *แสงสว่าง *อุณหภูมิ *สี *พื้นห้องและหลังคา -เครื่องใช้ภายในบ้าน -การกระตุ้นการรับรู้ -การควบคุมเสียง -การจัดห้องน้ำ

วิธีการศึกษา
1. บรรยาย
2. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3. การสัมมนา โดยแบ่งผู้เข้าอบรมเป็น 6 กลุ่มๆละ 4-5 คน ศึกษาค้นคว้าในหัวข้อที่2.10 และศึกษาสภาพแวดล้อมของผู้สูงอายุที่หมู่บ้าน
4. ภาคทดลองปฏิบัติ - ฝึกปฏิบัติทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ - ฝึกไทเก็ก สัปดาห์ละ 2 วัน - ฝึกสมาธิ สัปดาห์ละ 1 วัน

การประเมินผล
1. แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 60
2. การสัมมนา ร้อยละ 15
3. การทดลองทำอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 10
4. การจัดเกมสำหรับผู้สูงอายุ ร้อยละ 10
5. ทดสอบการออกกำลังกายแบบไทเก็ก ร้อยละ 5


4. วิชาการพยาบาลผู้สูงอายุ 2 ( Geriatric Nursing 2 ) หน่วยกิต 3 หน่วยกิต (3-0-6)


ลักษณะวิชา

         ศึกษาเกี่ยวกับการตอบสนองต่อภาวะเบี่ยงเบนสุขภาพ การประเมินสภาพร่างกาย จิตสังคม เพื่อนำความรู้มาใช้ในการพยาบาลผู้สูงอายุ รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุ เสริมสร้างเจตคติที่ดีในการช่วยเหลือผู้สูงอายุ เผยแพร่การส่งเสริมสุขภาพ การชลอความเสื่อม รวมทั้งการจัดกิจกรรมต่างๆที่เหมาะแก่ผู้สูงอายุ

วัตถุประสงค์

1. บอกอุบัติการณ์การเกิดโรค และปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุแต่ละรายได้
2. อธิบายปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดโรค หรือปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุได้
3. ประเมินปัญหาของผู้สูงอายุในแต่ละระบบจากข้อมูลที่กำหนดให้
4. วางแผนแก้ไขปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงอายุทั้งในโรงพยาบาลและชุมชนได้ ให้คำแนะนำแก่ผู้สูงอายุ ครอบครัว และผู้ดูแลได้ครอบคลุมทุกสภาวะ

หัวข้อการสอน
บทที่ 1 การประเมินผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย -การซักประวัติ-ตรวจร่างกาย -แนวทางการประเมินภาวะสุขภาพผู้สูงอายุ
บทที่ 2 การพยาบาลผู้สูงอายุที่มีปัญหาในระบบต่างๆ -ระบบหัวใจและหลอดเลือด *ความดันโลหิตสูง-ต่ำ *โรคของหลอดเลือดแดงโคโรนารีย์ , หัวใจเต้นผิดจังหวะ *หัวใจล้มเหลว -ระบบทางเดินหายใจ *วัณโรค *ถุงลมโป่งพอง *ปอดอักเสบ -ระบบทางเดินอาหาร *อาหารไม่ย่อย *ท้องผูก *ท้องเดิน *ปวดท้อง *กลืนลำบาก *ตับแข็ง *เลือดออกในทางเดินอาหาร -โรคของต่อมไร้ท่อ โรคเบาหวาน *น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำ *ความผิดปกติของไขมันใน NIDDM *การดูแลแผลเรื้อรังในผู้ป่วยเบาหวาน -ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ *กระดูกผุ *ปวดหลัง-เอว -ระบบตา-หู-คอ-จมูก *การสูญเสียการมองเห็น 1. ต้อกระจก 2. ต้อหิน 3. นัยน์ตาพร่า-มัว *การสูญเสียการได้ยิน *ความเสื่อมของระบบประสาทเกี่ยวกับการได้ยิน *ขี้หูอุดตัน -ระบบขับถ่าย *ปัสสาวะคั่งและการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะ *ต่อมลูกหมากโต -ระบบประสาท *อาการวิงเวียน *อาการสมองเสื่อม *โรคอัลไซเมอร์ *โรคพาร์กินสัน -ระบบสืบพันธุ์สตรี *มดลูกหย่อน -การดูแลผู้สูงอายุที่ได้รับการผ่าตัด -การฟื้นฟูสมรรถภาพปอด-กล้ามเนื้อ-กระดูกและข้อ
บทที่ 3 มะเร็งที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำหรับผู้สูงอายุ
บทที่ 4 การใช้ยาในผู้สูงอายุ -การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในผู้สูงอายุที่มีผลต่อเภสัชจลนศาสตร์ -ปฏิกิริยาต่อกันของยาที่ใช้บ่อยในผู้สูงอายุ -ข้อพึงปฏิบัติในการใช้ยาแก่ผู้สูงอายุ
บทที่ 5 ปัญหาสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ -ภาวะซึมเศร้า
บทที่ 6 ประเด็นในการดูแลผู้สูงอายุ -การเผชิญปัญหากับการเจ็บป่วย *การเจ็บป่วยเรื้อรังในผู้สูงอายุ *เป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง *การประเมินความต้องการการดูแลของผู้ป่วยเรื้อรัง *สาเหตุของการเจ็บป่วยเรื้อรัง -การดูแลผู้ป่วยใกล้ถึงแก่กรรมและถึงแก่กรรม -ปัญหาจริยธรรมในการดูแลผู้สูงอายุ

วิธีการศึกษา

1. บรรยาย
2. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง การประเมินผล แบบทดสอบหลังเรียน ร้อยละ 100


5. ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ ( Geriatric Nursing Practicum ) หน่วยกิต 3 หน่วยกิต (0-0-12)

ลักษณะวิชา

        เน้นการนำความรู้ทางกระบวนการพยาบาล และการพยาบาลผู้สูงอายุ มาใช้ในการพยาบาลผู้สูงอายุในภาวะสุขภาพปกติ และขณะเจ็บป่วย ในการแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน รวมทั้งการฟื้นฟูสภาพ การชลอความเสื่อมของผู้สูงอายุทั้งร่างกายและจิตใจ ให้ผู้เข้ารับการอบรมมีประสบการณ์ และเจตคติที่ดีในการพัฒนาทักษะปฏิบัติการพยาบาล ตลอดจนการจัดกิจกรรมสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้ผู้สูงอายุมีการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีคุณค่า

วัตถุประสงค์

1. ประเมินสภาพ วิเคราะห์ปัญหา กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของผู้ สูงอายุได้ถูกต้อง
2. นำความรู้มาใช้ในกระบวนการพยาบาล เพื่อวางแผนการพยาบาลผู้สูงอายุได้อย่าง เหมาะสม
3. วางแผนการสอนและให้คำแนะนำ ในการปฏิบัติตนเพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีความรู้ ในการรักษาสุขภาพ
4. วางแผนจัดกิจกรรมนันทนาการ เพื่อส่งเสริมฟื้นฟูสภาพผู้สูงอายุด้านร่างกายและจิต ใจได้อย่างเหมาะสม
5. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้สูงอายุได้รับบริการการรักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม

วิธีการศึกษา

1 ฝึกภาคปฏิบัติในโรงพยาบาล ( 2 สัปดาห์ )
    1.1 เลือกศึกษาผู้ป่วย โดยดูแลตั้งแต่แรกรับ จนจำหน่ายกลับ ที่ตึกอายุรกรรม หรือศัลยกรรม
    1.2 ติดตามเยี่ยมบ้าน (Home health care)
    1.3 Case study
    1.4 Nursing round
    1.5 Case discussion
    1.6 จัดกิจกรรมกลุ่มเพื่อการดูเเลตนเอง (Self help group)
2. ฝึกภาคปฏิบัติในชุมชน (สัปดาห์ ละ 1 วัน จำนวน 6 สัปดาห์)
    2.1 สำรวจปัญหา และความต้องการของชุมชน
    2.2 จัดทำโครงการ
    2.3 กรณีศึกษาผู้ป่วยเฉพาะราย
3. ฝึกภาคปฏิบัติในสถานสงเคราะห์ ( 1 สัปดาห์ )
    3.1 ปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ
    3.2 บริหารกาย-จิต
    3.3 สอนสุขศึกษา
    3.4 สันทนาการ
    3.5 ศึกษารายกรณีเพื่อประชุมปรึกษาทางการพยาบาล

การประเมินผล
1. ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วย ร้อยละ 45
    1.1 Case study ร้อยละ 15
    1.2 Case discussion ร้อยละ 10
    1.3 Home health care ร้อยละ 5
    1.4 Nursing round ร้อยละ 5
    1.5 Self health group ร้อยละ 10
2. ปฏิบัติงานในชุมชน ร้อยละ 25
    2.1 การจัดทำโครงการ ร้อยละ 20
    2.2 การจัดกิจกรรมนันทนาการ ร้อยละ 5
3. ปฏิบัติงานในสถานสงเคราะห์คนชรา ร้อยละ 25
    3.1 Case conference ร้อยละ 10
    3.2 การจัดกิจกรรมนันทนาการ ร้อยละ 5
    3.3 สอนสุขศึกษา ร้อยละ 10