กายวิภาคศาสตร์

บทที่ 5 ระบบไหลเวียนของเลือด

ระบบไหลเวียนของเลือด ประกอบด้วย 2 ระบบ

1. ระบบไหลเวียนเลือดของร่างกาย

2. ระบบไหลเวียนของน้ำเหลือง

1. ระบบไหลเวียนของเลือดในร่างกาย

Blood

เลือด ( Blood ) คือส่วนที่ประกอบด้วยเซลล์เม็ดเลือดมีจำนวน 2/ 5 และส่วนที่เป็นน้ำของเลือด ( Plasma ) มีจำนวน 3 / 5 ส่วน จำนวนเลือดในร่างกายของคนมีประมาณ 1/13 ของน้ำหนักร่างกาย หรือเฉลี่ยประมาณ 5.5 ลิตร

Blood Cell

เซลล์เม็ดเลือดมี 2 ชนิด เม็ดเลือดแดง และเม็ดเลือดขาว เซลล์เม็ดเลือดทั้ง 2 ชนิดต่างก็เจริญมาจากไขกระดูกแดง ( Red Bone marrow ) ที่มีหน้าที่สร้างเม็ดเลือด ทำลายเม็ดเลือดแดง และเก็บสะสมเหล็ก ( Iron ) ที่เกิดจากการสลายของ Hemoglobin โดยไขกระดูกแดงนี้จะพบได้ในกระดูกทุกชิ้นในเด็กแต่ในผู้ใหญ่ไขกระดูกแดงที่จะเป็นแหล่งผลิตเซลล์เม็ดเลือดจะลดลงโดยพบได้ที่ Flat bone ได้แก่ Sternum, Rib, Clavicle, Pelvis, Diploe of skull ในวัยหนุ่มสาว พบที่ medullary canal of long bone และ Spongy bone เช่น distal end of femur, humerus and Vertebral column ร่วมด้วย

การเจริญของเซลล์เม็ดเลือด

การเจริญของเม็ดเลือดขณะอยู่ในครรภ์มารดาเริ่มสร้างเมื่ออายุครรภ์ได้ สัปดาห์ที่ 2 จากกลุ่มเซลล์เรียกว่า Blood Island ที่เกิดจาก Mesoderm ของเอมบริโอ เพื่อเป็นเซลล์เริ่มต้นของ Blood cells ต่อมาสร้างที่ผนังของ Yolk sac ในตับ ม้าม ไขกระดูก และเนื้อเยื่อน้ำเหลือง ซึ่งเป็นแหล่งสร้างเม็ดเลือดในช่วง Fetus หลังจากคลอดการสร้างเม็ดเลือดจะสร้างในไขกระดูกแดง ส่วน Lymphocyte จะถูกสร้างในเนื้อเยื่อน้ำเหลือง


เซลล์เม็ดเลือดเจริญมาจาก Hematopoietic Stem cell ในไขกระดูก ผังแสดง



เซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว

Æ 15-20 m Proerythroblast Myeloblast Æ ³ 10-15 m

Æ 12-15 m Erythroblast Promyelocyte Æ ³ 20 m

Æ 8-10 m Normalblast Myelocyte Æ ³ 16 m

Æ 9 m Reticulocyte Metamyelocyte Æ ³ 20 m

Æ 7.7 m Erythrocyte Granulocyte Æ ³ 9-14 m

ไม่มีนิวเคลียส มีนิวเคลียส

Erythrocyte ถูกสร้างด้วยอิทธิพลของฮอร์โมน Erythropoietin จากไต ในมนุษย์เซลล์เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน เมื่อหมดอายุจะถูกกำจัดที่ม้าม ( Spleen ) ไขกระดูก และตับ

( Liver ) โดย Macrophages องค์ประกอบของเซลล์เม็ดเลือดแดงประกอบด้วย Hemoglobin + O2 เรียกว่า Oxy-hemoglobin มีลักษณะของเซลล์เป็นกลม ๆ มองด้านข้างตรงกลางหว่ำไม่มีนิวเคลียส รีตัวลอดผ่านเส้นเลือดแดงได้ เม็ดเลือดแดงเมื่อถูกทำลายหรือหมดอายุจะแยกได้เป็น

Erythrocyte or Red blood cell

Protein Globin + Heme ( Iron )

Iron

ถูก Hydrolied ถูก Metabolied จะขนย้ายโดยจับกับ

จะได้ Amino acid จะได้ Bilirubin Iron+Transferin

นำไปใช้สังเคราะห์โปรตีนใหม่ ถูกขับออกผสมกับน้ำดีของตับ กลับสู่ไขกระดูก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 1 แสดงภาพ E.M. รูปร่างโครงสร้างของเม็ดเลือดแดง ( RBC ) ที่อยู่ใน Capillary

Blood platelets ( P ) อยู่ใกล้ ๆ

ส่วน นิวเคลียส ( EnC) ในภาพเป็นของ Endothelial cell

Granulocyte เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เจริญเต็มที่ จะมีนิวเคลียสหลายปุ่ม ภายใน Cytoplasm จะมี Granules ซึ่งมีความหยาบหรือความละเอียดแตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของเม็ดเลือดขาว ได้แก่ Neutrophil , Eosinophil, Basophil เม็ดเลือดขาวจะมีชีวิตในกระแสเลือดประมาณ 8 - 12 ชั่วโมง เซลล์เม็ดเลือดขาวสามารถเคลื่อนที่ได้โดยยื่นขาส่วนที่เป็น Cytoplasm เรียกว่า Ameboid movement

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 2 แสดงภาพ E.M. ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Neutrophil

Neutrophils ขนาด Æ 9 - 14 m จะมีนิวเคลียส 5 ปุ่ม ( Lobes ) ภายในไซโตปลาสซึมมี Granules ละเอียดในแกรนนูลมีสารที่ทำหน้าที่ต่อต้านแบคทีเรียคือ Peroxidase & Lysosomes enzymes ทึ่บรรจุใน Lysosomes ย้อมติดสีชมพูแกมน้ำตาล เซลล์ชนิดนี้มีจำนวน 60-75 % เมื่อเซลล์เริ่มการอักเสบจะพบเม็ดเลือดขาวชนิดนี้มากที่สุดในบริเวณที่เกิดอาการและเกิดขบวนการ Phagocytosis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 3 แสดงภาพ E.M. ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Eosinophil

Eosinophil ขนาด Æ 12 m จะมีนิวเคลียสรูปไข่ 2 ปุ่ม ( Lobes ) ภายในไซโตปลาสซึ่มมี Granules หยาบ บรรจุด้วย Peroxidase, Histaminase, Arylsulfatase และ Hydrolytic enzymes ย้อมติดสีแดง เซลล์ชนิดนี้มีจำนวน 3 - 5 % ถ้าตรวจพบเซลล์นี้มากแสดงว่าอยู่ในภาวะภูมิแพ้ หรือติดเชื้อพยาธิ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 4 แสดงภาพ E.M. ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Basophil

Basophil ขนาด Æ 8 และ 14 m จะมีนิวเคลียสรูปโค้งคล้ายตัวเอช ( S ) ภายในไซโตปลาสซึ่มมี Granules หยาบรูปไข่ ซึ่งบรรจุด้วย Hydrolytic enzymes, Heparin, และ Histamine ซึ่งจะมีผลทำให้เส้นเลือดเล็กๆ หดตัว เซลล์จะย้อมติดสีด่าง( น้ำเงิน ) เซลล์ชนิดนี้มีจำนวน 0.5-1 % ถ้าพบมากกว่าปรกติแสดงว่าร่างกายจะมีความสัมพันธ์กับ Hypersensitivity ( มีความไวต่อการแพ้สิ่งต่างๆ สูงมากกว่าปรกติ ) และ Anaphylaxis

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 5 แสดงภาพ E.M. ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Lymphocyte

Agranulocyte เป็นเซลล์ที่สร้างมาจากเนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลือง ต่อมไธมัส และม้ามเป็นเม็ดเลือดขาวที่ไม่มี Granules ในไซโตปลาสซึ่ม นิวเคลียสไม่มี lobes มี 2 ชนิดคือ

1. Lymphocytes มีขนาด Æ 6 - 12 m เป็นเซลล์ที่สำคัญในการไหลเวียนของน้ำเหลือง ใน เนื้อเยื่อจะมีขนาดใหญ่ กลาง เล็ก แต่ในกระแสเลือดจะมีเฉพาะขนาดกลาง และเล็ก เซลล์ขนาดกลางจะมี Golgi, Mitochondria, free ribosomes, rER เซลล์ขนาดเล็กจะพบใน Cytoplasm มี Free ribosomes เท่านั้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 6 แสดงภาพ E.M. ของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Monocyte

2. Monocyte มีขนาด 12-15 m มีอายุ 3 วัน เมื่อวนเวียนในกระแสเลือด เป็นเม็ดเลือดขาวที่จะเปลี่ยนเป็นเม็ดเลือดขาวต่าง ๆ เช่นเปลี่ยนเป็น Macrophage ออกตาม Neutrophils ไปที่บริเวณอักเสบ โดย Monocyte จะเปลี่ยนเป็น Macrophage กินแบคทีเรียและเศษที่เหลือ ซึ่งเซลล์ Macrophage จะยังคงอยู่บริเวณนี้นานกว่า Neutrophils

Platelets ( เกล็ดเลือด ) ขนาด 2 m เป็นเซลล์ที่แยกออกมาจาก Cytoplasm ของ เซลล์ Megakaryocytes ใน bone marrow เป็นเซลล์ที่ไม่มีนิวเคลียสแต่ล้อมรอบด้วย Plasma membrane มีอายุประมาณ 10 วัน ที่ไหลวนในกระแสเลือด หน้าที่ของเกล็ดเลือดช่วยในการแข็งตัวของเลือด ( Blood clotting, Clot retraction, and Clot dissolution ) เมื่อเส้นเลือดขาด เกล็ดเลือดจะจับกับบริเวณที่ฉีกขาดนั้น แล้วปล่อยสาร Serotonin ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อเรียบของเส้นเลือดหดตัว มีผลให้การไหลของเลือดบริเวณนั้นไหลช้าลง และสาร Tromboplastin ที่ถูกปล่อยมาจากเส้นเลือดที่ฉีกขาดนั้น ปฎิกิริยาเหล่านี้เป็นกระบวนการเริ่มแข็งตัวของเลือด

Plasma

ส่วนใหญ่องค์ประกอบของ Plasma จะเป็นน้ำ 91-92 % ที่ทำหน้าที่เป็น Solvent สำหรับ Solutes เช่น โปรตีน ก๊าซ อิเล็คโตไลท์ อาหาร ของเสีย และสารควบคุมชนิดต่าง ๆ กลุ่มของโปรตีน ( 7-8 % ของ Plasma ) มี 3 ชนิดได้แก่

1. Fibrinogen เป็นโปรตีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกระแสเลือดสร้างมาจากตับ มีหน้าที่ เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด

2. Albumin เป็นโปรตีนที่เล็กที่สุดสร้างมาจากตับเช่นกัน หน้าที่เกี่ยวข้องกับความดัน ต่อผนังเส้นเลือด ( Osmotic Pressure ) ถ้าสูญเสียออกไปจากเส้นเลือดเช่นออกไป กับปัสสาวะในไต ทำให้ Osmotic Pressure ของเส้นเลือดลดลงเป็นผลหำให้สาร น้ำ คั่งในเนื้อเยื่อ จะมองเห็นบริเวณผิวหนังบวม

3. Globulins รวมทั้งกลุ่ม Immunoglobulins มีบทบาทหน้าที่เป็น Antibodies

4. สารอื่น ๆ ใน Plasma ( 1-2 %) ได้แก่ Na+, K+ , Ca2+ Mg2+ , Cl - ,HCO 3 - , PO43- , SO42- สารที่ไม่ใช่โปรตีนคือ Urea, Uric acid, Creatinine, ammonium salts อาหารได้ แก่ Glucose, Lipids, amino acids ก๊าซ ได้แก่ Oxygen, carbon dioxide, nitrogen สาร ที่ควบคุมได้แก่ ฮอร์โมนและเอ็นไซม์

หน้าที่ของเลือด ได้แก่ Transport ขนส่งสารต่าง ๆ โดยอาศัยการทำงานของหัวใจ และ Regulation of body homeostasis เป็นการควบคุมความสมดุลย์ของร่างกายคือ น้ำ pH อุณหภูมิ และเกลือแร่

 

@ @ - @

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 7 แสดงการเปรียบเทียบเม็ดเลือดขาวชนิดต่าง ๆ จำนวน 5 ชนิด

*************

ชนิดของเส้นเลือด ( Tyes of blood vessels )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 8 แสดงภาพเปรียบเทียบลักษณะของผนังเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ

เส้นเลือดจะนำเลือดจากเนื้อเยื่อกลับเข้าสู่หัวใจ และนำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เส้นเลือดสามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 9 แสดงภาพวาด ชั้นของผนังเส้นเลือดแดง

1. เส้นเลือดแดง เป็นเส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำเลือดจากหัวใจไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย แบ่งได้

1.1 Arteries นำเลือดออกจากหัวใจ ส่วนใหญ่ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบและสามารถเปลี่ยนขนาดได้ตามการไหลและแรงดันของเลือด ประกอบด้วยผนัง 3 ชั้นได้แก่ ผนังชั้นในเรียกว่า Tunica intima เป็นชั้นบาง ๆ ของ endothelium ผนังชั้นต่อมาเป็นชั้นที่สำคัญที่สุดคือชั้นกลางเรียกว่า Tunica media ประกอบด้วยกล้ามเนื้อเรียบ และ Elastic tissues ผนังชั้นนอกสุดเรียกว่า Tunica adventitia ประกอบด้วย connective tissues และ เส้นเลือดที่มาเลี้ยงเส้นเลือดเรียกว่า Vasa vasorum เส้นเลือดที่มีขนาดเล็กกว่าเรียกว่า Arterioles แตกต่างกันที่ชั้นกลางที่มีความหนาของกล้ามเรียบน้อยกว่า Artery

1.2. Capillary เป็นเส้นเลือดขนาดเล็กที่สุดที่แทรกอยู่ในเนื้อเยื่อ ขนาด 7-9 m m. ยาว 0.25-1มม. ขนาดความยาวขึ้นอยู่กับลักษณะของกล้ามเนื้อ เมื่อตัดเส้นเลือดตามขวางจะพบว่าผนังเซลล์ประกอบด้วย Endothelial cell และผนังชั้นนอกล้อมรอบด้วย basal lamina รอยต่อระหว่างเซลล์เป็นชนิด Zonular occludens เป็นแหล่งแลกเปลี่ยนสารระหว่างในเส้นเลือดกับเนื้อเยื่อที่อยู่ใกล้เคียง รอบ ๆ ผนังเซลล์มีเซลล์อีกชนิดเรียกว่า Pericyte เกาะอยู่ตาม Endothelial cell เชื่อว่า Pericyte จะช่วยในการหดตัวของผนังเซลล์เส้นเลือดฝอย และสามารถเปลี่ยนเป็นเซลล์ชนิดอื่นได้เส้นเลือดฝอยสามารถแบ่งชนิดย่อยได้อีก ขึ้นอยู่กับที่ผนังของเส้นเลือดมี Basal laminar หรือไม่มี ได้แก่

1.2.1 เส้นเลือดชนิดผนังต่อเนื่องไม่มีรู ( Continuous capillary ) พบได้ทุกแห่งในร่างกายที่เป็นกล้ามเนื้อ เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ต่อมมีท่อและเซลล์ประสาท เช่นทำหน้าที่เป็น Blood-brain barrier

1.2.2 เส้นเลือดชนิดผนังไม่ต่อเนื่องเป็นรู ( Fenestrated capillary ) ระหว่างรูจะมีเส้นใยบาง ( Cell membrane แต่มีผนังชั้นเดียวไม่ใช่ผนัง 3 ชั้น ) ๆ ยึด เรียกว่า Diaphragm เส้นเลือดลักษณะเช่นนี้พบในเซลล์ที่ต้องการการแลกเปลี่ยนสารอย่างรวดเร็ว ระหว่างเส้นเลือดและเนื้อเยื่อได้แก่ Kidney, Intestine และ Endocrine gland

1.2.3 เส้นเลือดชนิดผนังไม่ต่อเนื่องเป็นรู แต่ไม่มี Diaphragm หรือไม่มีเส้นใยยึด

1.2.4. Sinusoidal capillary มีลักษณะเป็นเส้นคดเคี้ยว เส้นผ่าศูนย์กลางขนากกว้าง 30-40 m m. ซึ่งทำให้การไหลเวียนเลือดบริเวณนี้ช้า มีรูเปิดที่ผนังเส้นเลือดจำนวนมากแต่ไม่มี Dia-phragm รอบ ๆ เส้นเลือดจะมีเซลล์ทำหน้าที่จับกิน และไม่มีส่วนของ Basal laminar ล้อมรอบ เป็นเส้นเลือดที่จะพบได้ที่ ตับ ม้าม และไขกระดูก เป็นเส้นเลือดพิเศษที่จะมีเซลล์กัดกินสิ่งแปลกปลอมอยู่ตามผนังเซลล์ซึ่งผนังนี้จะไม่เชื่อมติดกัน เช่นที่ตับจะมี Kupffer cell

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 10 แสดงภาพของเส้นเลือดฝอยชนิดที่ผนังต่อเนื่องและผนังเป็นรู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 11 แสดงภาพ A. ภาพวาดแสดงผนังของเส้นเลือดฝอย B. แสดงเส้นเลือดฝอยระดับเซลล์

เส้นเลือดฝอยจะเชื่อมต่อกับเส้นเลือดดำขนาดเล็กสุดเรียกว่า Venules การเชื่อมต่อกันเรียกว่า arteriovenous anastomoses โดยเส้นเลือด Capillary จะเริ่มต้นแยกจาก arterioles และmetar-terioles ซึ่งเป็นจุดเริ่มให้เลือดไหลจาก artery ไป veins เส้นเลือด Capillary เป็นเส้นเลือดที่ไม่มีกล้ามเนื้อเรียบแต่จะมีกล้ามเนื้อเรียบเป็นหูรูดที่รอยต่อจุดเริ่มต้นระหว่าง arterioles และmetar-terioles กับ Capillary เรียกหูรูดว่า Precapillary sphincter ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการไหลผ่านของเลือดผ่าน Capillary

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 12 แสดงภาพวาด arteriovenous anastomoses

2. เส้นเลือดดำ เป็นเส้นเลือดจะนำเลือดจากเนื้อเยื่อส่วนปลายกลับเข้าสู่หัวใจ เพื่อส่งต่อไปฟอกที่ปอด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 13 แสดงการเปรียบเทียบผนังของเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำ

Veins มี 3 ขนาดและจำนวนผนังเช่นเดียวกับ artery แต่ผนังของ Veins มีความบางมากกว่า และท่อภายในของ Veins มีขนาดกว้างกว่า เส้นเลือดดำในส่วนที่เป็นระยางค์ของร่างกายภายในจะมีลิ้นของเส้นเลือดซึ่งมีทิศทางชี้เข้าหาหัวใจ เกิดจากผนังของ endothelial cell ยื่นเข้าไปเป็นลิ้นของเส้นเลือด ส่วนปลายของ Veins เรียกว่า Postcapillary venules จะรับเลือดจาก Capil-lary ผนังของ Postcapillary venules มีความไวต่อสารที่กระตุ้นให้เส้นเลือดหดตัวเช่น สาร Seroto-nin & Histamine ผลที่ตามมาคือทำให้สารน้ำและเม็ดเลือดขาวออกมาจากเส้นเลือดสู่เนื้อเยื่อ ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเกิดการอักเสบและอาการแพ้

หัวใจ ( The heart )

ขอบเขตภายนอกของหัวใจ

ตำแหน่ง เมื่อเปิดกระดูกทรวงอกด้านหน้า จะพบหัวใจและส่วนต้นของเส้นเลือดขนาดใหญ่วางอยู่ระหว่างปอดทั้งสองข้าง ในบริเวณ Pericardial cavity ( sac ) และเมื่อตรวจจากภายนอกร่างกาย หัวใจจะมีขอบเขตความสัมพันธ์โดยรอบกับกระดูกทรวงอกด้านหน้า ดังนี้

1. จากขอบทาง ด้านซ้ายของกระดูก Sternum ห่างประมาณ 1.5 ซม. และตรงกับระดับขอบล่างของ 2 nd costal cartilage ลากขอบเขตสมมติลงโค้งลงไปยัง 5thintercostal space ประมาณ 9 ซม. จากแนวกลางตัวใต้ Nipple ณ จุดนี้คือตำแหน่ง Apex ของหัวใจซึ่งเป็นส่วนยอดของหัวใจห้องล่างซ้าย ( Left Atrium ) วางอยู่บนกล้ามเนื้อกะบังลม

2. จากขอบเขต ด้านขวาของกระดูก Sternum ห่างประมาณ 1.5 ซม. และตรงกับระดับขอบล่างของ 6th costal cartilage ด้านฐานบนกล้ามเนื้อกะบังลม ( ประมาณกึ่งกลางของ Sternumจะเป็นตำแหน่งของ Tricuspid valve ) ลากเส้นสมมติขึ้นไปด้านขวาถึง 3 rd costal cartilage ซึ่งห่าง 1.5 ซม.จาก Sternum ณ จุดนี้เป็นด้านบนของหัวใจ ซึ่งจะตรงกับตำแหน่งของ SVC ที่เปิดสู่ Right atrium

ตำแหน่งของลิ้นจาก Right ventricle ที่เปิดสู่ Pulmonary trunk จะอยู่ตรงกับขอบบนของ 3 nd costal cartilage โดยเยื้องไปด้านซ้ายขอบของ Sternum เรียกลิ้นนี้ว่า Pulmonary valve

ตำแหน่งของลิ้นจาก Left ventricle ที่เปิดสู่ Ascending Aorta จะอยู่ตรงกับขอบล่างของ 3 rd costal cartilage ชิดขอบด้านซ้ายของ Sternum เรียกลิ้นนี้ว่า Aortic valve or Semilunar Aortic valve

ตำแหน่งของลิ้นจาก Left Atrium ที่เปิดสู่ Left ventricle จะอยู่ตรงกับขอบล่างของ 4 th costal cartilage ด้านซ้ายของ Sternum 1.5 ซม. เรียกลิ้นนี้ว่า Mitral valve

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 14 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างกระดูกหน้าอกและหัวใจ

หัวใจถูกคลุมด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า Parietal Pericardium จะคลุมหัวใจชั้นนอก และ Visceral Pericardium เยื่อหุ้มหัวใจชั้นในเป็นเยื่อหุ้มหัวใจที่คลุมหัวใจที่แท้จริง ระหว่าง 2 ชั้นนี้จะมีช่องว่างเรียกว่า Pericardial cavity ( sac ) จะมีน้ำอาบอยู่ในช่องว่างนี้เพื่อทำให้ผนังของหัวใจชุ่มชื่นอยู่เสมอเป็นผลทำให้หัวใจสามารถขยายและเคลื่อนที่ได้ในช่องเยื่อหุ้มใจขณะที่หายใจเข้าซึ่งสัมพันธ์

กับความดันในช่องอกที่เพิ่มขึ้น จำนวนของเลือดที่ไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ห้อง Right atrium เพิ่มขึ้น

หัวใจแบ่งเป็น 2 ซีกข้างขวาและข้างซ้าย แต่ละซีกประกอบด้วย 2 ห้อง ห้องบนเรียกว่า Atrium ห้องล่างเรียกว่า Ventricle

ห้องของหัวใจ

1. Right Atrium อยู่ด้านขวาบนฐาน ( Base ) รับเลือดจากเส้นเลือดที่มาเปิดเข้าได้แก่

1.1 Superior vena cava เปิดเข้าด้านบนของห้อง รับเลือดจากสมอง ศีรษะ ใบหน้าและแขนทั้งสองข้าง ทางเข้าของ SVC ที่เข้าสู่ห้องบนขวาที่ในผนังด้านหลังจะเป็นตำแหน่งของ Sinoatrial node

1.2 Inferior vena cava เปิดเข้าด้านล่างของห้องนำเลือดจากทรวงอก ช่องท้องและขาทั้งสองข้าง

1.3 Coronary sinus จะเปิดใกล้ ๆ ล่างต่อ IVC นำเลือดจากผนังและกล้ามเนื้อของหัวใจเอง มาเเข้าหัวใจห้องบนขวา

เลือดจากเส้นเหล่านี้จะไหลผ่าน Tricuspid valve ผ่านลงสู่ Right Ventricle ผนังด้านหลังของห้องบนจะเรียบ ผนังด้านหน้าเป็นสันตามขวางเรียกว่า Musculi pectinati

2. Right Ventricle อยู่ห้องล่างขวารับเลือดจาก Right Atrium เลือดจะส่งผ่าน Semilunar valve of Pulmonary artery เพื่อไหลไปฟอกที่ปอด ผนังของห้องมีลักษณะเป็นสันเพื่อเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวของกล้ามเนื้อเรียกว่า Trabeculae caneae นอกจากลักษณะดังกล่าวผนังกล้ามเนื้อจะยื่นคล้ายนิ้วมือเรียกว่า Papillary muscle ใช้เป็นที่เกาะของเอ็นที่ยึดลิ้นหัวใจเอ็นนี้เรียกว่า Chordae tendineae

3. Left Atrium อยู่ห้องบนซ้ายรับเลือดจากปอดข้างขวา 2 เส้น ปอดข้างซ้าย 2 เส้น เรียกเส้นเลือดจากปอดที่มาสู่หัวใจห้องนี้ว่า Pulmonary vein ซึ่งนำเลือดที่มีออกซิเจนไหลลงผ่านลิ้นหัวใจ 2 แฉก เรียกว่า Mitral valve ลงสู่หัวใจห้องล่างซ้าย

4. Left Ventricle อยู่ห้องล่างซ้ายวางอยู่บนกล้ามเนื้อกะบังลม ยอด Apex จะดันกลีบปอดซ้าย ผนังกล้ามเนื้อของห้องนี้จะมีลักษณะเหมือนห้องล่างขวา แต่มีความหนาของผนังมากกว่าเนื่อง

จากจะต้องบีบตัวเพื่อส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายส่วนต่างๆ โดยผ่านลิ้นที่เรียกว่า Semilunar valve of Aorta

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 15 แสดงความสัมพันธ์ของหัวใจกับลักษณะตำแหน่งต่าง ๆ

ผนังของหัวใจ

หัวใจประกอบด้วยผนัง 3 ชั้น

1. ชั้นนอกเรียกว่า Pericardium มี 2 ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า Parietal Pericardium เป็นเยื่อที่คลุมหัวใจชั้นนอกสุดที่ไม่ได้ยึดติดกับเยื่อชั้นใน ซึ่งเรียกว่า Visceral Pericardium ระหว่าง 2 ชั้นนี้เรียกว่า Pericardial cavity เยื่อหุ้มชั้นในนี้เป็นเยื่อที่ปกคลุมที่แนบชิดกล้ามเนื้อหัวใจ

2. ชั้นที่ 2 เป็นกล้ามเนื้อลายหัวใจเรียกว่า Myocardium muscle

3. ชั้นที่ 3 เป็นชั้นในสุดลักษณะเยื่อบาง ๆ ที่คาดผนังด้านในทั้งหมดเรียกว่า Endocardium

ผนังแบ่งห้องหัวใจ

1. ผนังกั้นระหว่างห้องล่างของหัวใจเรียกว่า Interventricular septum

2. ผนังกั้นระหว่างห้องบนเรียกว่า Interatrium septum ที่ผนังนี้จะมี Foramen ovale เป็นทาง ผ่านของเลือดในเด็กขณะอยู่ในท้องมารดาโดยไหลจากห้องบนขวาไปห้องบนซ้าย เมื่อ คลอดแล้วผนังนี้จะปิด และผนังในห้องขวา ณ ตำแหน่งเหนือลิ้นหัวใจจะเป็นตำแหน่งของ Atrioventricular node

3. ผนังกั้นหัวใจทั้งห้องบนและห้องล่างรวมเรียกว่า Cardiac septum

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 16 แสดงผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 17 แสดงผนังของกล้ามเนื้อหัวใจ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 18 แสดงลิ้นของหัวใจและเส้นเลือดแดงที่ออกมาเลี้ยงหัวใจ

ตำแหน่งของสัญญาณประสาทของหัวใจ

ตำแหน่งเส้นประสาทจากจุดเริ่มต้น ซึ่งอยู่ที่ผนังของ SVC เรียกว่า S.A. node จะส่งไฟเบอร์ไปยัง A.V. node จาก AV. node ส่งเป็นมัดแทรกไปในผนังของ Interventricular septum เรียกว่า Bundle of His ซึ่งจะส่งต่อไปยังหัวใจห้องล่างทั้งสองข้างโดยแทรกเข้าไปใน Papillary muscle เส้นประสาทที่มาเลี้ยงหัวใจเรียกว่า Cardiac Plexus จาก Sympathetic และ Vagus nerve จากระบบ Para-sympathetic

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 19 แสดง ตำแหน่งเส้นประสาทจากจุดเริ่มต้น S.A. node ส่งไปยัง A.V. node จาก AV. node ส่งต่อไปยังหัวใจห้องล่างทั้งสองข้างโดย Bundle of His

เส้นเลือดที่มาเลี้ยงหัวใจออกมาจากเส้นเลือด Ascending aorta จำนวน 2 เส้นโดยออกเหนือต่อ Aortic valve เส้นเลือดนี้เรียกว่า Coronary artery และเส้นเลือดที่นำเลือดกลับไปหัวใจห้องบนขวาเรียกว่า Coronary sinus

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การไหลเวียนเลือดเลี้ยงหัวใจ

รูปที่ 20 แสดงภาพ (a). การกระจายของหลอดเลือดแดง เส้นเลือดที่วิ่งอ้อมไปด้านหลัง แสดงด้วยลายเส้นคู่

(b). การกระจายของหลอดเลือดดำ เส้นเลือดที่วิ่งอ้อมไปด้านหลัง แสดงด้วยลายเส้นประ

ระบบการไหลเวียนเลือดของร่างกาย

ระบบการไหลเวียนของเลือดในร่างกายแบ่งเป็น 2 ระบบ ได้แก่

1. Pulmonary system หรือ Pulmonary circulation

2. Systemic circulation

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 21 แสดง การไหลเวียนเลือดผ่านหัวใจระบบ Systemic และ Pulmonary

 

 

 

 

1. Pulmonary system หรือ Pulmonary circulation

Pulmonary circulation เป็นการนำเลือดที่มีออกซิเจนต่ำจากหัวใจห้องล่างขวา ( Right ventricle ) ผ่าน Semilunar valve of Pulmonary artery และผ่านเส้นเลือดชื่อ Pulmonary artery ซึ่งอยู่หน้าต่อ Aorta วิ่งไปถึงระดับ 5-6 dorsal Intervertebral แล้วจะแบ่งเป็น 2 เส้นซ้ายและขวาวิ่งไปสู่ปอด เมื่อเลือดฟอกที่ปอดแล้ว เลือดที่มีออกซิเจนจะไหลกลับผ่านเส้นเลือด Pulmonary vein มาจากปอดทั้งสองข้าง ๆ ละ 2 เส้น นำเลือดไปเทเข้าที่หัวใจห้องบนซ้าย ( Left Atrium )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 22 แสดง Pulmonary circulation เส้นเลือด Pulmonary artery มี O2 ต่ำ

และ Pulmonary vein มี O2 สูง

2. Systemic circulation

การนำเลือดที่มีออกซิเจนออกจากหัวใจห้องล่างซ้ายผ่านลิ้น Semilunar valve of aorta แล้วผ่านสู่เส้นเลือด Ascending aorta จากนั้น Ascending aorta จะโค้งไปด้านหลังค่อนไปทางซ้าย ผาดอยู่เหนือ Root of lung ส่วนที่โค้งนี้เปลี่ยนชื่อเรียกว่า Arch of aorta แล้วดิ่งลงเรียกว่า Descending aorta เข้าสู่ช่องอกทางด้านซ้ายเมื่อเข้าสู่ช่องอกจะเปลี่ยนชื่อเรียกว่า Thoracic aorta และทะลุกล้ามเนื้อกะบังลมเรียกว่า Aortic opening ตรงกับระดับที่ T 12 แล้วเข้าช่องท้องเปลี่ยนชื่อเรียกเป็น Abdominal aorta วางอยู่บนกระดูกสันหลังส่วนหน้าระดับเอว ( Lumbar ) เมื่อถึงระดับกระดูกบั้นเอวที่ 4 ( Lumbar 4 ) จะแยกเป็น 2 แขนงซ้ายขวาเรียกว่า Right commal iliac and Left commal iliac artery ทั้ง 2 เส้นนี้จะแยกออกไปอีกข้างละ 2 แขนง เรียกว่า External iliac and Internal iliac artery เส้นเหล่านี้จะส่งแขนงย่อยรวมทั้งชื่อที่เปลี่ยนไปอีกเพื่อเลี้ยงส่วนปลาย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 23 แสดง Diaphragm และตำแหน่งรูเปิดของอวัยวะจากทรวงอกเข้าช่องท้อง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 24 แสดงความสัมพันธ์ระบบไหลเวียนเลือดของ Pulmonary & Systemic system

2.1 Arch of aorta จะแบ่งแขนงเพื่อส่งไปเลี้ยงศีรษะและแขนดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 25 แสดงภาพของเส้นเลือดแดง และเส้นเลือดดำด้านหน้าของหัวใจ

จากรูปที่ 25 เส้นเลือด Arch of aorta จะให้ 3 แขนงได้แก่

1. Right Brachiocephalic ( Innominate ) artery เส้นนี้จะวิ่งเฉียงไปด้านขวาถึงรอยต่อระหว่าง Sterno- clavicular joint จะแยกอีก 2 แขนงคือ

1.1 Right common carotic artery เป็นเส้นที่ส่งเลือดไปเลี้ยงใบหน้าและศีรษะเมื่อวิ่ง ขึ้นไปถึงระดับกระดูกคอที่ 4 หรือตรงกับ Thyroid cartilage จะแยกเป็น 2 แขนง ให้ External & Internal carotic artery

1.2 Right subclavian artery จะมีความยาวสั้นเมื่อวิ่งพ้นขอบของ first rib จะเปลี่ยน ชื่อเป็น Axillary artery

2. Left common carotic artery เป็นเส้นที่ออกมาจากส่วนโค้งตรงกลาง จะวิ่งอยู่ด้านซ้ายของคอเมื่อวิ่งถึงระดับกระดูกคอที่ 4 หรือตรงกับ Thyroid cartilage จะแยกเป็น 2 แขนงให้ External & Internal carotic artery เช่นเดียวกับข้างขวา

3. Left subclavian artery จะมีความยาวมากกว่าข้างขวาเมื่อวิ่งพ้นขอบของ first rib จะเปลี่ยนชื่อเป็น Axillary artery

แขนงของเส้นเลือดที่กล่าวมาของ Arch of aorta จะส่งไปเลี้ยงส่วนคอ ศีรษะ และแขน สามารถสรุปได้ดังนี้

1. เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงคอและศีรษะคือ Common carotic artery

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 26 แสดงเส้นเลือดแดงที่ส่งขึ้นไปเลี้ยงคอและใบหน้า

1.1 External carotic artery เป็นเส้นเลือดที่แยกแขนงเลี้ยงบริเวณคอหลายเส้น

- แยกมาด้านหน้าได้แก่ Superior thyroid , Lingual และ Facial artery

- แยกไปด้านหลังได้แก่ Occipital , Posterior Auricular artery

- วิ่งขึ้นไปอยู่หน้าต่อใบหูแยกให้แขนงอยู่ลึกต่อต่อมน้ำลาย ( Parotid gland ) วางอยู่ บน External pterygoid muscle ถูกคลุมด้วย Ramus of mandible คือเส้น Internal maxillary artery

- เมื่อแยกเข้าสู่ส่วนลึกของแก้มแล้วจะวิ่งขึ้นไปเหนือต่อขอบบนของใบหูเรียกว่า Superficial temporal artery และแยกไปด้านหน้าเและด้านหลังของหนังศีรษะเรียก ว่า Anterior & Posterior temporal artery

1.2 Internal carotic artery เป็นเส้นเลือดที่ไม่แยกแขนงเลี้ยงบริเวณคอ แต่ส่งขึ้นไปยังฐานกะโหลกศีรษะผ่านเข้า carotid foramen เพื่อแยกแขนงเลี้ยงสมองส่วนต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 27 แสดงการไหลเวียนของเลือด Circle of Willis ในสมอง

การไหลเวียนเลือดของสมอง

สมองมีเลือดไหลเฉลี่ย 750 ml/นาที ถ้าเนื้อเยื่อประสาทขาดเลือดไปเลี้ยงจะทำให้เกิดภาวะ Necrosis เซลล์ประสาทเริ่มตายหลังขาดเลือด 4 นาที สมองมีเส้นเลือดที่มาเลี้ยง 2 คู่ ได้แก่

1. Internal carotid Artery เมื่อเข้าสู่สมองจะแทรกอยู่ระหว่างเส้นประสาทสมองที่ 2 และ 3 จะให้แขนงสำคัญหลายแขนง ได้แก่ ophthalmic, anterior meningeal , anterior cerebral , posterior communicating และ anterior choroidal arteries ส่วนแขนงที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญเรียกว่า Middle cerebral artery ซึ่งจะให้แขนงไปเลี้ยงสมองส่วน Frontal , Anterior temporal, anterior parietal และ middle cerebral art. ยังให้แขนงที่เล็กกว่าไปเลี้ยง posterior parietal และส่วน temporo-occipital lobe

2. Vertebral Artery แยกมาจากส่วนแขนงแรกของ Subclavian artery เป็นเส้นที่ใหญ่วิ่งผ่าน Transversarium foramen ของ C6 - C1 แทงทะลุ dura และ arachnoid mater แล้วผ่าน Foramen magnum วิ่งไปด้านหน้าของ medulla oblongata ทั้ง 2 เส้นซ้ายขวา จะไปรวมเป็นเส้นเดียวกันที่ส่วนปลายของสมอง Pons เปลี่ยนชื่อเป็น Basilar artery แขนงของ Basilar artery จะเลี้ยงสมองส่วน medulla, pons, midbrain, cerebellum รวมทั้งส่งแขนงไปเลี้ยง cochlea และ Vertibular ในหูชั้นใน

วงจรการไหลเวียนเลือดในสมองเรียกว่า Circle of Willis ซึ่งเกิดจาก

1. Anterior cerebral arteries of the internal carotid artery

2. Anterior communicating branch เชื่อมเส้นเลือดข้อ 1 ทั้งซ้ายและขวา

3. Posterior cerebral arteries เป็นแขนงที่แยกจาก Basilar artery ที่ระดับสมองส่วน Pons โดยวิ่งลงด้านข้างซ้ายและขวาเพื่อไปเลี้ยง tentorial surface

4. Posterior communicating branches เชื่อมระหว่างเส้นเลือด internal carotid artery และ Posterior cerebral artery

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงแขนส่วนปลาย

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงแขนเป็นแขนงที่ต่อเนื่องจาก Subclavian artery เมื่อวิ่งถึงริม First rib เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น Axillary artery ไปสิ้นสุดปลายที่ขอบล่างของ Teres major เปลี่ยนชื่อเรียกว่า Brachial artery แล้ววิ่งลงไปที่หน้าต้นแขน (Arm) เมื่อถึงบริเวณ Cubital fossa ต่ำกว่ารอยพับแขนประมาณ 1/2 นิ้ว จะแยกเป็น 2 แขนงได้แก่

1. แขนงที่ 1 เรียกว่า Radial artery วิ่งผาดบน anterior lateral of forearm โดยอยู่ขอบต่อกล้ามเนื้อหน้าแขน Supinator longus และ neck of radius วิ่งลงไปถึงข้อมือวิ่งอ้อมหลังขอบนอกของ carpus ลอดกล้ามเนื้อนิ้วหัวแม่มือ ไปสิ้นสุดที่ข้อต่อระหว่างนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้ เข้าสู่ฝ่ามือ ( palm ) ข้าม metacarpal ไปเชื่อมต่อกับเส้นเลือด Ulnar artery เป็น deep palmar arch จาก arch นี้จแยกเป็นแขนงไปเลี้ยงตามนิ้วมือ

2. แขนงที่ 2 เรียกว่า Ulnar artery เมื่อแยกจาก Brachial จะวิ่งเฉียงไปตาม inner side of forearm เมื่อวิ่งถึงข้อมือเข้าสู่ฝ่ามือจะแยกเป็น Superficial and deep palmar arch เพื่อไปเชื่อมต่อกับแขนงที่ 1 คือ Radial artery

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 28 แสดงเส้นเลือดจาก Subclavian artery ไปเลี้ยงแขน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 28.1 แสดง เส้นเลือดแดงของต้นแขนและบริเวณหน้าพับ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 28.2 แสดง เส้นเลือดแดงของปลายแขนและบริเวณหน้าฝ่ามือ

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงทรวงอก

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงทรวงอกต่อเนื่องมาจาก Descending aorta ซึ่งวิ่งลงเข้าสู่ทรวงอกโดยวิ่งพาด root of lung ดิ่งลงทางซ้ายตรงกับระดับ thoracic 4 เปลี่ยนชื่อเป็น Thoracic aorta ไปสิ้นสุดที่ T 12 โดยแทงทะลุ Diaphragm แขนงของ Thoracic ได้แก่ Pericardiac , Bronchial , Esophageal , Posterior mediastinal และ Intercostal artery เส้นแขนงสุดท้ายนี้จะมีข้างละ 9 เส้น เส้นแรกและเส้นที่ 2 ที่มาเลี้ยงทรวงอกมาจากแขนงของ subclavian artery เรียกว่า Superior Intercostal artery แต่ละแขนงของ Intercostal artery จะให้แขนงย่อยไปเลี้ยง Spinal cord เรียกว่า Spinal artery

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงช่องท้อง

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงช่องท้องต่อเนื่องมาจาก Thoracic aorta ที่แทงผ่านกะบังลม แล้วจะเปลี่ยนชื่อเรียกว่า Abdominal aorta ซึ่งวางบน Body of lumbar จากระดับ 1-4 ณ ระดับ L 4 จะแยกอีกเป็นข้างขวาและข้างซ้ายเรียกว่า Common Iliac artery มีความยาว 2 นิ้ว วิ่งถึงระดับกระดูกเอวที่ 5 และกระดูก Sacrum จะแบ่งอีก 2 แขนงในแต่ละด้านของร่างกาย เรียกว่า External Iliac artery จะวิ่งลงไปเลี้ยงขา และ Internal Iliac artery จะให้แขนงอีกจำนวนมากเลี้ยงอวัยวะในอ็งเชิงกราน

Abdominal aorta จะให้แขนงที่สำคัญดังนี้

1. Celiac trunk เป็นเส้นสั้น ๆ หนายาว 1/2 นิ้ว ต้องยกตับและดึงกะเพาะอาหารลง จึงจะมองเห็นเส้นนี้ เส้นเลือดนี้จะแยกอีก 3 เส้นได้แก่

1.1 Left gastric artery มีขนาดเล็กวิ่งไปด้านซ้ายเลี้ยง cardiac orifice และวิ่งจาก ขอบด้านซ้ายของ Lesser curvature of stomach ไปด้านขวา

1.2 Splenic artery เป็นเส้นขนาดใหญ่ที่ส่งไปด้านซ้ายเพื่อไปเลี้ยงตับอ่อน

1.3 Common Hepatic artery จะแยกย่อยอีกเรียกว่า

- Right gastric artery อยู่เหนือต่อ Pylorus of stomach และวิ่งไปตามขอบ ของ Lesser curvature of stomach จากขวาไปซ้าย

- Gastro-duodenal artery ส่งลงมาตามขอบด้านในของ Pylorus และอยู่หลัง ต่อ duodenum

- Hepatic artery เป็นส่วนที่ต่อเนื่องมาหลังจากให้แขนงย่อย Right gastric artery และ Gastro-duodenal artery แล้ว จะวิ่งไปยังตับ สุดท้ายแบ่งอีก 2 สาขาคือ * Right Hepatic artery ซึ่งจะไปเลี้ยงตับ Lobe ขวา และให้แขนง ไปเลี้ยงถุงน้ำดี ( Gall bladder ) อีกเส้นคือ Left Hepatic artery เลี้ยงซีก ซ้าย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 29 แสดงเส้นเลือดแดงที่แยกแขนงออกจากระดับต่าง ๆ ของ AORTA

2. Superior mesenteric artery จะเลี้ยงลำไส้เล็กทั้งหมด ยกเว้นส่วนที่ 1 ของ duodenum และส่งแขนงไปเลี้ยงลำไส้ใหญ่ส่วน Cecum, Ascending colon และ Transverse colon

3. Inferior mesenteric artery ออกจาก Abdominal aorta ด้านซ้าย จะเลี้ยง Descending colon, Sigmoid colon, Rectum แขนงของมีชื่อว่า Sigmoid , Superior hemorrhoidal artery

4. Suprarenal artery ออกจาก Abdominal aorta ข้างละ 1 เส้น ส่งไปเลี้ยงต่อมหมวกไต

5. Renal artery ออกล่างต่อ Superior mesenteric artery เส้นขวาจะยาวกว่าเส้นซ้ายและอ้อมหลัง IVC. เส้นซ้ายออกสูงกว่าเส้นขวา แต่ละเส้นก่อนถึง Hilum of kidney จะแยกออกอีก 4-5 เส้น เส้นย่อยนี้จะแขนงย่อยอีกส่งไปเลี้ยงต่อมหมวกไต ท่อไต เส้นเลือด Renal artery จะวางอยู่ระหว่าง Renal vein ( อยู่หน้า ) และ Ureter ( อยู่หลัง )

6. Spermatic artery เป็นเส้นเล็ก ๆ ออกใต้ Renal artery มี 2 เส้นข้างละ 1 เส้น ส่งลงมาเลี้ยง Testes เส้นขวาจะวิ่งอยู่หน้าต่อ IVC. เส้นซ้ายวิ่งอยู่หลังต่อ Sigmoid colon วิ่งลอดผ่าน inguinal canal เข้าสู่ Scrotum แตกแขนงย่อย ๆ เลี้ยง vas deferens , epididymis และ testes

Ovarian artery ในผู้หญิงเป็นเส้นที่คล้าย Spermatic artery ของเพศชาย ส่งไปเลี้ยง Ovaries และให้แขนงไปเลี้ยง Fallaopian tube และบางเส้นไปเชื่อมต่อกับ Uterine artery

7. Lumbar arteries คล้าย ๆ เส้นเลือด Intercostal artery ที่ออกจากด้านหลังของ aorta มีประมาณ 4 เส้น ซึ่งจะแตกย่อยอีกเมื่อวิ่งถึง Transverse process เป็น Dorsal and abdominal branch

8. Middle sacral artery เป็นเส้นเล็ก ๆ ออกจากด้านหลัง aorta ที่รอยแยกที่ Lumbar 4 เส้นเลือดนี้จะเลี้ยง Lumbar 5 และ ด้านหน้าของกระดูก Sacrum ถึงกระดูก Coccyx

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงอุ้งเชิงกราน

เป็นแขนงที่แยกมาจาก Common Iliac artery เรียกว่า Internal iliac artery เลี้ยงผนังภายใน อวัยวะภายในอุ้งเชิงกราน ให้แขนงใหญ่ ๆ จำนวน 2 แขนงเรียกว่า Anterior & Posterior division แต่ละเส้นให้แขนงย่อย ๆ อีกเป็นจำนวนมาก

Anterior division of Internal iliac artery จะให้แขนงย่อยดังนี้

- Superior vesical จะเลี้ยงตามผนังของกระเพาะปัสสาวะ

- Middle vesical เลี้ยงด้านบนของกระเพาะปัสสาวะ

- Inferior vesical เลี้ยงด้านฐานของกระเพาะปัสสาวะ

- Middle hemorrhoidal artery จะไปเลี้ยง Anus และด้านนอกของ Rectum


หญิง - Uterine artery ส่งไปเลี้ยงมดลูก

- Vaginal artery ( เทียบได้กับ Inferior vesical ในผู้ชาย ) เส้นนี้เลี้ยงช่องคลอด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 30 แสดงเส้นเลือดแดงในอุ้งเชิงกราน

Posterior division of Internal iliac artery จะให้แขนงย่อยดังนี้

- Lateral sacral artery เลี้ยงกล้ามเนื้อและผิวหนังบริเวณ Sacrum

- ilio-lumbar artery เลี้ยงกล้ามเนื้อ Poas major, qusdratus lumborum muscle รวมทั้ง cauda equina และกล้ามเนื้อบริเวณ Gluteal

เส้นเลือดที่ส่งไปเลี้ยงขาส่วนปลาย

เส้นเลือดนี้ต่อมาจาก External iliac artery ซึ่งจะลอดผ่าน inguinal canal โดยวิ่งอยู่นอกต่อเส้นเลือดดำ วิ่งคู่กับเส้นเลือดดำ มีเนื้อเยื่อหุ้มเรียกว่า Femoral sheath ตามรูปที่ 32 เมื่อเส้นเลือด External iliac artery ผ่านหน้าขาส่วนต้นเปลี่ยนชื่อเรียกว่า Femoral artery วิ่งลงตามด้านหน้าต้นขาด้านในถึง รอยเปิดของกล้ามเนื้อ Adductor magnus จะวิ่งผ่านกล้ามเนื้อนี้ไปด้านหลังต้นขาเปลี่ยนชื่อเรียกว่า Popliteal artery แล้ววิ่งลงมาที่ด้านหลังข้อพับเข่าถึงขอบล่างของกล้ามเนื้อ Popliteus muscle จะแยกอีก 2 แขนง เรียกว่า Anterior & Posterior tibial artery เส้น Anterior tibial artery จะวิ่งขอบใน ของ neck of fibular เลี้ยงกล้ามเนื้อด้าน หน้าขาล่าง เมื่อถึงข้อเท้าวิ่งพาดหน้าต่อ ข้อเท้าไปหลังเท้าเปลี่ยนชื่อเป็น Dosalis pedis artery ส่วนเส้น Posterior tibial artery จะเลี้ยงกล้ามเนื้อหลังน่องทั้งหมด เมื่อถึงข้อเท้าวิ่งอ้อม ตาตุ่มในและให้ แขนง External & Internal plantar artery ซึ่งจะส่งแขนงไปเชื่อมต่อกับ Dosalis pedis artery แขนงของ Posterior tibial artery ที่จะแยกมาเลี้ยงด้านข้างของขา ล่างคือ Peroneal artery etc.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 31 แสดง เส้นเลือดแดงที่มาเลี้ยง ปลายขาส่วนล่าง รูปที่ 32 แสดง Femoral sheath

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 33 แสดงเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยง ปลายขาด้านหน้า ( Anterior )

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 34 แสดงเส้นเลือดแดงที่ไปเลี้ยง ปลายขาด้านหลัง ( Posterior )

 

 

การไหลเวียนของเส้นเลือดดำ

การไหลเวียนของเส้นเลือดดำเป็นการไหลเวียนที่นำเลือดจากอวัยวะ ที่เส้นเลือดแดงไปเลี้ยง มีการแลกเปลี่ยนอาหาร ออกซิเจน ที่ capillary เมื่อแลกเปลี่ยนส่วนที่เหลือ และรับกลับเข้าสู่เส้นเลือดดำขนาดเล็กเรียกว่า Venule ซึ่งเชื่อมต่อกับ Capillary เส้นเลือดดำนี้จะเป็นเส้นที่นำส่วนประกอบของเลือดที่มีออกซิเจนต่ำ รวบรวมเลือดเทเข้าสู่ vein ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ชื่อเส้นเลือดดำจะมีชื่อเหมือนเส้นเลือดแดง ยกเว้นชื่อเส้นเลือดบริเวณคอ และศีรษะบางเส้น เส้นเลือดดำเส้นใหญ่สามารถแบ่งได้ 2 เส้น ได้แก่

1. Superior vena cava เป็นเส้นเลือดที่ไม่มี valve จะนำเลือดเทเข้า Right Atrium ทางด้านบนโดยรับเลือดดำกลับจากศีรษะ ใบหน้า คอ และแขนทั้งสองข้าง มีเส้นเลือดที่เกี่ยวข้องดังนี้

- เส้นเลือดรับเลือดจากสมอง คือ Internal jugular vein วิ่งผ่าน Jugular foramen เมื่อวิ่ง ถึงฐานของคอจะรวมกับ Subclavian vein เป็น Brachiocephalic vein

- เส้นเลือดรับเลือดจากใบหน้าและหนังศีรษะ คือ External jugular vein จะมาเทเข้า Subclavian vein

- เส้นเลือด Brachiocephalic vein ทั้งสองข้างรวมกันเป็น Superior vena cava เทเข้า Right Atrium

2. Inferior vena cava เป็นเส้นเลือดดำที่รับเลือดจากทรวงอก ช่องท้อง รวมทั้งเลือดจากขาทั้งสองข้าง นำไปเทเข้าด้านล่าง และเยื้องไปด้านหลังของหัวใจห้องบนขวา Right Atrium

- เส้นเลือดดำในส่วนของแขนสามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ Superficial veins วางอยู่ระหว่าง 2 ชั้น ของ Superficial fascia และกลุ่ม Deep veins วิ่งคู่กับเส้นเลือดแดงชื่อเหมือนกันเช่น Ulnar veins ในกลุ่ม Superficial veins ประกอบด้วยเส้นเลือด 2 เส้นคือ

1. Cephalic veins จะวิ่งอยู่ด้าน Lateral side of forearm ผ่านไปเหนือต้นแขนวางอยู่ ระหว่าง Pectoralis major and Deltoid muscles สุดท้ายเทเข้า Axillary vein ใต้กระดูก clavicle

2. Basilic vein วิ่งตาม inner side of forearm และ Biceps muscle เมื่อวิ่งพ้นขอบล่างของ Teres major จะเปลี่ยนชื่อเป็น Axillary vein เมื่อวิ่งถึงขอบนอกของ First rib เปลี่ยนชื่อเป็น Sub-clavian vein วิ่งถึงขอบในของ กระดูก clavicle จะรวมกับ Internal jugular vein เป็น Brachiocephalic vein ที่มุมต่อระหว่าง 2 เส้นของ Internal jugular vein และ Subclavian vein ข้างขวาจะมี Right lymphatic duct และด้านซ้ายจะมี Thoracic duct มาเทเข้าระหว่างรอยต่อนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 35 แสดงแขนงเส้นเลือดแดงที่เลี้ยงใบหน้าและคอ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 36 แสดงเส้นเลือดดำที่ไหลมาเทเข้า Superior vena cava

เส้นเลือดดำในทรวงอกประกอบด้วย 2 เส้นหลัก

1. Right Azygos veins เส้นขนาดใหญ่กว่าข้างซ้าย เริ่มต้นระดับ Lumbar 1 หรือ 2 เกิดจากแขนงของเส้นเลือดต่อไปนี้

- Right lumbar vein หรือ Right renal vein หรือ จาก IVC ในช่องท้อง เข้าทรวงอก โดยผ่าน Aortic opening วิ่งตาม vertebral column ด้านขวาถึง T4 วิ่งข้าม root of right lung ไปเทเข้า SVC ระหว่าง ทางจะรับเลือดจาก Right Intercostal veins ทั้ง 10 เส้น และเส้นเลือดดำจาก Pericardiac vein

2. Hemiazygos vein ( Left lower azygos vein ) เริ่มต้นจากในช่องท้อง เกิดจาก lumbar vein 1 เส้น หรือจาก Left renal vein แล้วผ่านเข้า สู่ทรวงอก รับเลือดจาก Left Intercostal veins ด้านล่าง 4-5 เส้น วิ่งขึ้นไปด้านซ้ายของ vertebral รูปที่ 37 แสดง Azygos System column ถึง T 9 อ้อมด้านหลัง IVC และ Thoracic duct ไปเทเข้า Right Azygos veins

- Accessory Hemiazygos vein ( Left upper azygos vein ) อยู่ในทรวงอกรับเลือดจาก Intercostal space ด้านซ้ายระหว่าง Superior Intercostal vein และแขนงจาก lower azygos veins สุดท้ายไปเทเข้า Left lower azygos veins หรือ Right Azygos veins

เส้นเลือดจากการเลี้ยงขาส่วนปลาย

ขาเช่นเดียวกับแขนแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ชั้นลึกชื่อตามเส้นเลือดแดงแต่ทิศทางการวิ่งจะวิ่งขึ้นโดยสุดท้ายไปเทเข้าหาหัวใจ และกลุ่มชั้นตื้นมี 2 เส้น เริ่มจากปลายเท้าดังนี้

1. เลือดจากด้านหลังเท้า จะรับเลือดจากเส้นต่าง ๆ มากมายแล้วไปเทเข้าเส้นเลือดชั้นตื้นด้านในของเท้า และอ้อมตาตุ่มด้านในเรียกว่า Great or long saphenous veins วิ่งด้าน Medial side ไปตามขา อ้อม inner condyle ของกระดูก Femer สุดท้ายไปเทเข้า Femoral vein ที่ Femoral opening

2. เส้นที่สั้นกว่าวิ่งอยู่ด้าน Lateral อ้อมตาตุ่มนอกเรียกว่า Short or small saphenous veins วิ่งด้านหลังของน่องไปเทเข้าเส้นเลือด Popliteal veins

กลุ่มลึกมีลิ้นจำนวนมากมีชื่อเส้นเลือดตามเส้นเลือดแดงของขาทิศทางวิ่งสวนกับเส้นเลือดแดง และสุดท้ายวิ่งผ่าน inguinal canal เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น External iliac vein เส้นนี้นำไปเทเข้า common iliac vein จาก Right & Left common iliac vein จะรวมกันตรงกับระดับ Lumbar 5 เป็น Inferior vena cava ซึ่งวิ่งอยู่ด้านขวาต่อ Abdominal aorta ไปแทงผ่าน Diaphragm ที่ระดับ T10 เข้าทรวงอกสุดท้ายเทเข้า Right Atrium เส้นเลือด IVC ในช่องท้องจะรับเลือดจากเส้นเลือด Lumbar, Right spermatic ( Ovarian), Renal , Suprarenal, Phrenic , และ Hepatic vein

Hepatic vein เป็นเส้นเลือดที่เชื่อมต่อมาจาก capillary ของ Portal veins และ hepatic artery ในตับ โดยนำเลือดจากตับเทเข้าสู่ IVC มีจำนวน 3 เส้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 38 แสดงเส้นเลือด Inferior vena cava รับเลือดจากอวัยวะในช่องท้อง

Portal system of veins

ประกอบด้วยเส้นเลือดจำนวน 3 เส้นหลัก และรับจากเส้นย่อยอื่นๆ ซึ่งรวบรวมเลือดดำจากอวัยวะในระบบทางเดินอาหารที่ย่อยแล้วบางครั้งมีสารที่มีพิษ ยา ฯลฯ โดยรับจาก Stomach, intestine, pancreas และ spleen รวมเป็นเส้นเดียวกันแล้ววิ่งเข้าสู่ตับ เรียกว่า Hepatic portal vein แตกเป็น Venous sinusoid ในที่สุด เลี้ยงเซลล์ตับเพื่อ สังเคราะห์ สร้างพลังงาน ฯลฯ และส่งออกเป็น Hepatic vein ไปเทเข้า IVC

เส้นเลือดของ Portal system of veins ประกอบด้วย 1. Superior mesenteric veins 2. Inferior mesenteric veins ปกติจะเทเข้าเส้นเลือดเส้นที่ 1 แต่บางครั้งก็เทเข้าเส้น Splenic vein และ 3. Splenic vein เส้น Superior mesenteric veins และ Splenic vein มารวมกันเป็น Hepatic portal vein

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 39 แสดงระบบไหลเวียนเลือดของทางเดินอาหาร

Reticuloendothelial system (RES)

เป็นระบบที่มีรูปร่างสานกันเป็นร่างแห มีนิวเคลียสอยู่กลางเซลล์มีเซลล์ Process ยื่นหลายแขนง เซลล์ของระบบนี้เรียกว่า Reticular cells ( RE cells ) ซึ่งจะอยู่เป็นกลุ่ม ๆ พบใน Spleen, Bone marrow, Lymph nodes, tonsils และต่อมไทมัส เซลล์จำนวนมากของ RE cells จะพบอยู่ใน Liver sinusoids เรียกว่า Kupffer cells และอยู่ตาม Sinusoids ของ Pituitary, Adrenal และตามเส้นเลือดทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบในระบบประสาท เรียกว่า Microglia cell รวมทั้ง Macrophages และ Plasma cells เป็นส่วนประกอบหนึ่งระบบ RES นี้

RE cells มีความสามารถที่เปลี่ยนแปลงเจริญเป็น

1. เจริญเป็น Lymphocyte อยู่ใน Lymph nodes

2. เจริญในเนื้อเยื่อเป็น Histocytes ทำหน้าที่เป็น Phagocytes

3. สร้าง Plasma cell ซึ่งเป็นเซลล์ต้นแบบของการสร้าง Immune bodies

RE cells เชื่อว่าได้รับการเจริญมาจาก Mesenchymal cells ซึ่งทำหน้าที่สร้างเซลล์เม็ดเลือด หน้าที่ของ RES นี้ในสภาพปกติไม่สามารถระบุได้ชัดเจน แต่เมื่อร่างกายเกิดพยาธิสภาพของโรค RE cells ของ RES นี้จะทำหน้าที่ทำลาย และสร้างภูมิคุ้มกันต่อต้านขึ้นมา เซลล์ของระบบนี้สามารถพบได้ตามผนังเส้นเลือดภายในต่อมน้ำเหลือง และมีความสามารถจะกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่มากับน้ำเหลืองขณะที่มีการไหลของน้ำเหลืองผ่านต่อมได้

ระบบน้ำเหลืองของร่างกาย

(Lymphatic system)

น้ำที่ผ่านจากเนื้อเยื่อเข้าสู่เส้นน้ำเหลืองเรียกว่าน้ำเหลือง ( Lymph ) ระบบน้ำเหลืองของร่างกายประกอบด้วย เซลล์ เนื้อเยื่อ และอวัยวะที่ทำหน้าที่ป้องกันสิ่งแวดล้อมภายในร่างกาย ต่อสู้กับสิ่งแปลกปลอมจากภายนอก ระบบนี้บางครั้งจึงเรียกว่า เป็นระบบภูมิคุ้มกัน (Immunity)

Lymphatic system ประกอบด้วย

1. Lymph Capillary เป็นกลุ่มร่างแหของเส้นน้ำเหลือง

2. Lymph nodes

3. กลุ่มของ Lymphoid tissue วางอยู่ตามผนังของทางเดินอาหาร ในม้ามและต่อมธัยมัส

4. Circulating lymphocytes ซึ่งเกิดขึ้นใน 4.1 Lymphoid tissue วางอยู่ตลอดตามร่างกาย

4.2 ใน Myeloid tissue ซึ่งวางอยู่ในไขสันหลัง

ต้นกำเนิดของระบบนี้เชื่อว่ามาจาก Stem cell ซึ่งมีรูปร่างของมันไม่แน่นอน เซลล์จะเคลื่อนเข้าเส้นเลือดแล้วแทรกตามต่อมธัยมัส แบ่งตัวหลายครั้งเพื่อสร้าง T lymphocytes ในสัตว์พวกนก “Stem cell” ถูกกระตุ้นให้เปลี่ยนแปลงเป็น B lymphocytes พบในกระเพาะอาหารที่เรียกว่า bursa of fabricius ซึ่งในมนุษย์โครงสร้างที่เทียบได้คือ bone marrow ศึกษาจาก รูปที่ 40

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 40 แสดงแหล่งกำเนิดและการสร้าง T & B lymphocytes

Lymph หรือน้ำเหลือง ประกอบด้วย Blood plasma และ Lymphocytes ลักษณะใสไม่มีสีหรือสีเหลืองอ่อนจาง ๆ มีปฏิกริยาเป็นด่าง รสเค็ม มีส่วนประกอบของอาหารโปรตีนเล็กน้อย แข็งตัวช้า เมื่อแข็งตัวแล้วจะนิ่ม หน้าที่ของน้ำเหลืองจะนำสารจากเลือดไปสู่ เนื้อเยื่อ และนำผลิตภัณฑ์จากการเผาผลาญอาหารจากเนื้อเยื่อไปยังเลือด ทั้งนี้โดยอาศัยขบวนการแพร่ (Diffusion)

ระบบหลอดน้ำเหลืองประกอบด้วย 2 ส่วน

1. Lymph Vessels ซึ่งได้แก่

1.1 Lymph Capillaries เริ่มต้นด้วยปลายปิดในเนื้อเยื่อมีผนังบาง ๆ เพียงชั้นเดียวกระจัด กระจายรวมกลุ่มอยู่ใกล้ ๆ กับ Blood Capillaries รับน้ำเหลืองจากเนื้อเยื่อแล้วรวบรวมเท สู่ lymph vessels ขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า Lymphatics duct

1.2 Lymphatics มีผนัง 3 ชั้น มีลิ้น (Valves) เป็นจำนวนมากเป็นเส้นที่ต่อเนื่องจากข้อ 1.1

1.3 Thoracic duct เริ่มต้นที่ Cisterna chyli ซึ่งวางตัวอยู่หน้าต่อ Body Lumbar ระดับ 2 เส้นนี้เป็นเส้นน้ำเหลืองที่ใหญ่ที่สุดมีความยาว 45 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 4-6 ซม. ผนังหนา 3 ชั้น มี Valves จำนวนมาก จะรับน้ำเหลืองจากซีกซ้ายของ Head neck chest และ Left arm และจะนำน้ำเหลืองไปเทเข้าเส้นเลือดดำที่รอยต่อระหว่าง Left Subclavian vein และ Internal Jugular vein

1.4 Lacteals เป็นเส้นน้ำเหลืองใน Villi ของ Small intestine ถ้าระหว่างการย่อยน้ำเหลือง จะบรรจุด้วยไขมันขุ่นขาว คล้ายน้ำนมเรียกว่า Chyle น้ำเหลืองนี้จะเทเข้า Thoracic duct ถ้าไม่อยู่ระยะของการย่อยอาหารจะบรรจุด้วย Lymph เส้นน้ำเหลือง Lacteal ทำหน้าที่ ดูดซึมสารอาหารที่เป็นไขมัน เส้นน้ำเหลืองทุกเส้นจะทำหน้าที่นำน้ำเหลืองจากทุกส่วน ของร่างกายแล้วไหลกลับไปเทเข้าที่รอยต่อระหว่าง Left Subclavian veins และ Internal Jugular vein

1.5 Right Lymphatic duct รับน้ำเหลืองจากร่างกายด้านขวา โดยรับจาก 1/2 ซีก ศีรษะด้านขวา แขนขวา และหน้าอกครึ่งบนขวาไปเทเข้ารอยต่อระหว่าง Right Subclavian vein และ Internal Jugular vein

2. Lymph nodes

ต่อมน้ำเหลืองมีรูปร่างคล้ายถั่ว ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มจนกระทั่งถึงผล Almond มีเปลือกหุ้มเป็น Connective tissue ผสมกับใยของกล้ามเนื้อบาง ๆ เนื้อเยื่อภายในคล้ายฟองน้ำบรรจุด้วยเนื้อเยื่อ Lymphoid มีท่อติดต่อออกสู่ภายนอกเรียกว่า Efferent lymph vessels และท่อเข้าสู่ต่อมเรียกว่า Afferent lymph vessel ต่อมน้ำเหลืองจะมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 41 แสดงโครงสร้างจุลกายวิภาคศาสตร์ของต่อมน้ำเหลือง

สี่เหลี่ยมในภาพกลางจะถูกขยายในภาพบนและภาพล่างแสดงลักษณะของชั้น Cortex

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 42 แสดงระบบไหลเวียนน้ำเหลือง ประกอบด้วยต่อม เส้นทางเดินน้ำเหลือง

ตำแหน่งของต่อมน้ำเหลือง

ตำแหน่งของต่อมน้ำเหลือง มีทั้งอยู่ตื้น ๆ และระดับลึกมักจะเรียงเป็นสาย (Chains) หรือเป็นกลุ่ม ๆ อยู่ตามเส้นเลือดใหญ่ ๆ ตามตำแหน่งดังต่อไปนี้

1. Head อยู่ด้านหลังของศีรษะ และคอ อยู่รอบ ๆ กล้ามเนื้อ Sternocleidomastoid

ซึ่งจะรับน้ำเหลืองจากด้านหลังของลิ้น ลำคอ โพรงจมูก เพดานปาก และหน้า อีกกลุ่มอยู่รอบ ๆ ใต้

Mandible ซึ่งจะรับน้ำเหลืองจากพื้นของปาก

2. Upper extremities แบ่งตามตำแหน่งดังนี้

2.1 Elbow รับน้ำเหลืองจาก Hand และ Forearm

2.2 Axillary

2.3 อยู่ใต้ Pectoral muscle รับน้ำเหลืองจาก Mammary skin และกล้าม เนื้อทรวงอก

3. Lower extremities

3.1 ต่อมอยู่ส่วนต้นของ Anterior tibial vessel

3.2 อยู่ใน Popliteal space

3.3 กลุ่มใหญ่อยู่ใน Groin region

ทั้ง 3 กลุ่มนี้จะเทเข้าต่อมน้ำเหลืองในผนังช่องท้องส่วนล่าง

4. Abdomen และ Pelvis แบ่งเป็น

4.1 Parietal group จะอยู่หลัง Peritoneum ใกล้เส้นเลือดใหญ่

4.2 Visceral group จะอยู่ใกล้กับ Visceral artery

5. Thorax แบ่งเป็น

5.1 Parietal group จะอยู่ใกล้กับ Thoracic wall

5.2 Visceral group จะรับน้ำเหลืองจาก หัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ ปอด ต่อม ไทมัส และหลอดอาหาร

ต่อมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในการสร้างน้ำเหลือง ได้แก่ Spleen thymus และต่อมทอนซิล (Tonsils)

หน้าที่ของต่อมน้ำเหลือง

1. สร้าง Lymphocytes

2. กรองสารแปลกปลอมและทำลาย

3. เป็นองค์ประกอบใน Serum globulin

The circulation of Lymphocytes

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปที่ 43 แสดงทิศทางการไหลเวียนน้ำเหลืองเริ่มจากต่อมน้ำเหลืองเข้าสู่หัวใจ

การไหลเวียนน้ำเหลือง เริ่มต้นจากเส้นน้ำเหลืองฝอย ( Lymphatic capillary ) ปลายตันในเนื้อเยื่อของร่างกาย ซึ่งส่วนใหญ่พบใต้ผิวหนัง และ Mucous membrane มากที่สุด เส้นน้ำเหลืองฝอยเหล่านี้จะนำสารต่างๆ และน้ำ จาก Extracellular space ของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และเนื่องจากเส้นเหล่านี้มีผนังบางมากกว่าเส้นเลือดแดงฝอยจึงสามารถดูดซึมสารขนาดใหญ่ เซลล์ รวมทั้งสารแปลกปลอมต่าง ๆ ได้ดีกว่าเส้นเลือดแดงฝอย เมื่อรับสารต่างๆ แล้วน้ำเหลืองจะไหลเข้าสู่ต่อมน้ำเหลืองโดยผ่าน Afferent lymphatic vessels และโดยการผ่าน Post-capillary venules จากนั้นจะนำสารต่าง ๆ ไหลผ่านออกจากต่อมน้ำเหลืองโดยผ่าน Efferent lymphatic vessels หลังจากนี้จะไหลเข้าเส้นน้ำเหลืองขนาดใหญ่กว่า ในรูปที่ 43 จะไหลเข้า Thoracic duct สุดท้ายไหลเข้าสู่ระบบไหลเวียนเลือดดำที่คอ รอยต่อระหว่าง Left Subclavian vein และ Internal Jugular vein หรือถ้าการไหลเวียนนี้เกิดทางด้านขวาจะไหลเข้า Right lymphatic duct และเทเข้ารอยต่อระหว่าง Right Subclavian vein และ Internal Jugular vein

¿ B Â